อาจารย์กันตภณ อินทมาตย์ ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษรายวิชา 421 206 ภาษาศาสตร์ภาษาฝรั่งเศส

อาจารย์กันตภณ อินทมาตย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปเป็นอาจารย์พิเศษรายวิชา 421 206 ภาษาศาสตร์ภาษาฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 เวลา 14:50 – 17:30 น. ณ ห้อง อ.50-303 อาคาร 50 ปี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาจรีย์ ทาชาติ และอาจารย์ ดร.ประโลม บุญรัศมี ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรหัวข้อ Wine Language

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาจรีย์ ทาชาติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอิตาเลียน และอาจารย์ ดร.ประโลม บุญรัศมี อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาโปรตุเกส ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากคณะแพทยศาสตร์ ไปเป็นวิทยากรหัวข้อ Wine Language เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 13:00 – 16:00 น. ณ ห้อง 224 ชั้น 2 อาคารแพทยพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร.พิริยะดิศ มานิตย์ ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประเมินผลงานข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อเลื่อนขั้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิเทศสัมพันธ์

รองศาสตราจารย์ ดร.พิริยะดิศ มานิตย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ไปเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประเมินผลงานข้าราชการรัฐสภาสามัญเพื่อเลื่อนขั้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิเทศสัมพันธ์ ระดับชำนาญพิเศษ (ด้านภาษาฝรั่งเศส) และตำแหน่งนักวิเทศสัมพันธ์ ระดับเชี่ยวชาญ (ด้านภาษาฝรั่งเศส)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรนุช เศวตรัตนเสถียร ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรการสัมมนาเรื่อง “การจัดทำร่างนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) ที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของหอสมุดแห่งชาติ”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรนุช เศวตรัตนเสถียร อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ ไปเป็นวิทยากรการสัมมนาเรื่อง “การจัดทำร่างนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) ที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของหอสมุดแห่งชาติ” เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 เวลา 14:30 – 16:30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ
ศาสตราจารย์ ดร.อรรถยา สุวรรณระดา ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษในหัวข้อ “มองญี่ปุ่นผ่านนิทานโบราณ อ่านใหม่ในโลกปัจจุบัน”

ศาสตราจารย์ ดร.อรรถยา สุวรรณระดา อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนรายวิชา JPN364 Japan Today ในหัวข้อ “มองญี่ปุ่นผ่านนิทานโบราณ อ่านใหม่ในโลกปัจจุบัน” เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 เวลา 12:30 – 15:20 น. ผ่านระบบออนไลน์
คณาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในการอบรมครูศูนย์ภูมิศาสตร์โอลิมปิกสอวน. ประจำปี 2567

รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริวิไล ธีระโรจนารัตน์ รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ และอาจารย์ ดร.อารีรัตน์ แพทย์นุเคราะห์ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ ได้รับเชิญจากมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ไปเป็นวิทยากรในการอบรมครูศูนย์ภูมิศาสตร์โอลิมปิกสอวน. ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 7 – 12 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมบางกอก พาเลส มักกะสัน กรุงเทพฯ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนในรายวิชาเทคโนโลยีพื้นฐาน (TS 2101)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ ได้รับเชิญจากส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนในรายวิชาเทคโนโลยีพื้นฐาน (TS 2101) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม 2567 ณ กองวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา ดวงยิหวา ได้รับเชิญไปกำหนดตรวจสอบและประเมินผลข้อมูลต้นแบบจากภาคสนาม (ชุดข้อมูล VAP)

รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา ดวงยิหวา อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ ได้รับเชิญจากศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปกำหนดตรวจสอบและประเมินผลข้อมูลต้นแบบจากภาคสนาม ครั้งที่ 1 (ชุดข้อมูล VAP) จากโครงการ “จ้างที่ปรึกษาศึกษาแนวทางการนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาใช้สนับสนุนในการอ่านแปล ตีความภาพถ่ายอากาศ” ระหว่างวันที่ 3 – 5 เมษายน 2567 ณ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดังกมล ณ ป้อมเพชร ได้รับเชิญจากหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิตไปเป็นวิทยากรให้ความรู้และฝึกทักษะการเผชิญเหตุการณ์เสมือนจริง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดังกมล ณ ป้อมเพชร อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปการละคร ได้รับเชิญจากหน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิตไปเป็นวิทยากรให้ความรู้และฝึกทักษะการเผชิญเหตุการณ์เสมือนจริง ในโครงการสิงห์ดำสบายดี ครั้งที่ 3 ในวันที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 09:30 – 16:00 น. ณ หน่วยส่งเสริมสุขภาวะนิสิต ชั้น 3 อาคารจามจุรี 9 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอแสดงความยินดีและขอขอบคุณบุคลากรคณะอักษรศาสตร์ที่ได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาบุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2567

ในการแข่งขันกีฬาบุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2567 นี้ คณะอักษรศาสตร์ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันใน 8 ชนิดกีฬา ได้แก่ ว่ายน้ำ วิ่ง ทุ่มน้ำหนัก แชร์บอล เทเบิลเทนนิส กรรเชียงบก วิ่งเปี้ยวกระสอบ ชักเย่อ – เหรียญทอง 2 เหรียญจากการแข่งขันว่ายน้ำ คือ ผศ. นิภาพร ตั้งต่อฤทธิ์ (ภาควิชาภาษาอังกฤษ) และ นางสาวสรรพพร เรไรวรรณ (ภาควิชาภาษาไทย) – เหรียญเงิน 1 เหรียญจากการแข่งขันวิ่งผลัด 4 × 100 เมตร ผู้ร่วมทีมประกอบด้วย นางบุษกร ธรณี (ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์) นางสาวจรรยา ยามาลี (ภาควิชาปรัชญา) นางวรรณภา จัดสนาม (กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนาวิชาการ) และ นางสาวทิพนิภา ชื่นสกุล (กลุ่มภารกิจงานแผนและพัฒนาองค์กร) – เหรียญทองแดง 1 เหรียญจากการแข่งขันว่ายน้ำ คือ นายฉลอง แสงสิริวิจารณ์ รายชื่อนักกีฬา คณะอักษรศาสตร์ ว่ายน้ำ ลำดับที่ ชื่อ-นามสกุล หน่วยงาน ประเภทกีฬา เหรียญรางวัล 1 […]
ประชาสัมพันธ์หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศเป็นหลักสูตรปริญญาโท สาขาภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ สำหรับชาวต่างชาติ แห่งแรกในประเทศไทย จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังจะเปิดรับนิสิตใหม่ครั้งแรก สำหรับภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2567 (มกราคม 2568) โดยมีวัตถุประสงค์ – เพื่อสร้างนักวิชาการที่มีทักษะและความสามารถสูงในการใช้ภาษาไทย มีความรู้รอบเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทยในมิติต่าง ๆ ทั้งในอดีตและในปัจจุบัน และสามารถเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านภาษาและวัฒนธรรมไทยในระดับนานาชาติได้ – เพื่อสร้างชาวต่างชาติที่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้อย่างเชี่ยวชาญ เข้าใจความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย และสามารถประกอบอาชีพที่ต้องใช้ทักษะภาษาไทยขั้นสูงได้ หลักสูตรนี้มีให้เลือกเรียนทั้งแผน ก. (แบบวิชาการ) และ แผน ข. (แบบวิชาชีพ) เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพที่ต้องใช้ความรู้ภาษาไทยในระดับสูงในแขนงอาชีพต่างๆได้ เช่น นักวิชาการ นักวิจัย นักแปล ครู นักธุรกิจ NGO ฯลฯ เงื่อนไขการรับสมัคร: – เป็นชาวต่างชาติ ที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ – จบปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ – มีความรู้ภาษาไทยในระดับกลาง (Intermediate) ขึ้นไป – ชาวต่างชาติที่ผ่านการเรียนวิชา Lifelong Learning ของศูนย์ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ สามารถเทียบโอนหน่วยกิตในรายวิชาที่เรียนผ่านมาแล้วได้ […]
งานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 22 เรื่อง “Mastering Thai at Your Own Pace: Soft Power Through Self-Directed Learning”

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 22 เรื่อง “Mastering Thai at Your Own Pace: Soft Power Through Self-Directed Learning” เพื่อเผยแพร่นวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ ผลงานของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะ Soft Power ใหม่ ที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มชาวต่างชาติ ในวันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น. ณ ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล ชั้น 1 (ชั้นลอย) อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน วิทยากรผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย คุณธฤต จรุงวัฒน์ […]
อาจารย์ ดร.สาวิตา ดิถียนต์ ภาควิชาศิลปการละคร ได้รับการอนุมัติจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

คณะอักษรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ อาจารย์ ดร.สาวิตา ดิถียนต์ ภาควิชาศิลปการละคร ได้รับการอนุมัติจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 885 วันที่ 28 มีนาคม 2567 ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
เรียนเชิญร่วมสมทบทุนในการสร้างหอเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เรียนเชิญท่านร่วมสมทบทุนในการสร้างหอเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งจะจัดสร้างขึ้นในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๗๐ พรรษา นอกจากจะเป็นการจำลองห้องทรงพระอักษรเมื่อทรงเป็นนิสิตในสถานที่จริง ยังประกอบด้วยห้องประชุมและนิทรรศการพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจอันทรงคุณค่าต่อทั้งคณะอักษรศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจสามารถสมทบทุนเข้ามูลนิธิมหาจักรีสิรินธร เพื่อคณะอักษรศาสตร์ เลขที่บัญชี 0672107474 ธนาคารไทยพาณิชย์ ออมทรัพย์ สาขาสวนจิตรลดาและส่งสลิปหลักฐานการโอนมาที่ supariya.l@chula.ac.th พร้อมแจ้งชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ การสมทบทุนนี้สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้
คณะอักษรศาสตร์ร่วมถวายพานพุ่มสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 107 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2567 เวลา 6.30 น. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี และหัวหน้าส่วนงานต่าง ๆ ร่วมกับ สมาคมนิสิตเก่า คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และ สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ ร่วมถวายพานพุ่มสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล และร่วมพิธีตักบาตร เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 107 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย