ผู้ช่วยศาสตราจารย์หัตถกาญจน์ อารีศิลป ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายการหัวข้อ “วรรณกรรมกับการเมืองการปกครองในวรรณกรรมสมัยใหม่: วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์หัตถกาญจน์ อารีศิลป อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปเป็นวิทยากรบรรยายการหัวข้อ “วรรณกรรมกับการเมืองการปกครองในวรรณกรรมสมัยใหม่: วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์” เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 เวลา 13:30 – 16:30 ณ ห้อง SC 1020 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษ ในรายวิชา 415 302 มรกดกทางวัฒนธรรมและความคิดในเอเชีย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปเป็นอาจารย์พิเศษ ในรายวิชา 415 302 มรกดกทางวัฒนธรรมและความคิดในเอเชีย เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 เวลา 13:55 – 16:35 น. ณ ห้อง อ.50 – 517 อาคาร 50 ปี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม
รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรโครงการพัฒนาบุคลากรด้านงานวิจัย หัวข้อ “โครงการอบรมแนวทางการป้องกันและการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism)”

รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ไปเป็นวิทยากรโครงการพัฒนาบุคลากรด้านงานวิจัย หัวข้อ “โครงการอบรมแนวทางการป้องกันและการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism)” เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 13:30 – 15:30 น. ผ่านระบบออนไลน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนกร แก้ววิภาส ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรโครงการเตรียมความพร้อมภาษาเยอรมันสู่มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนกร แก้ววิภาส อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเยอรมัน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาเยอรมัน) โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ไปเป็นวิทยากรโครงการเตรียมความพร้อมภาษาเยอรมันสู่มหาวิทยาลัย ให้ความรู้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกวันศุกร์ ในระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2567 เวลา 16:00 – 18:00 น. โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การกู้ภัยกับงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ภาคเหนือ”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การกู้ภัยกับงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ภาคเหนือ” เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 เวลา 11:30 – 14:20 น. ณ ห้องเรียน 802 อาคารเรียนคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อาจารย์ ดร.นรุตม์ เจ้าสกุล และอาจารย์ ดร.ประโลม บุญรัศมี ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ หัวข้อ “Wine and Culture”

อาจารย์ ดร.นรุตม์ เจ้าสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาสเปน และอาจารย์ ดร.ประโลม บุญรัศมี อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาโปรตุเกส ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ หัวข้อ “Wine and Culture” เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 -12:00 น. ณ ห้องเรียน 904 ชั้น 9 อาคารมหามกุฏ คณะวิทยาศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบรรณ์ ได้รับเชิญไปบรรยายพิเศษในหัวข้อ“ซอฟท์พาวเวอร์เกาหลี: พลังของเกาหลีในโลกสมัยใหม่”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบรรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปบรรยายพิเศษในหัวข้อ“ซอฟท์พาวเวอร์เกาหลี: พลังของเกาหลีในโลกสมัยใหม่” ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13:00 – 16:00 น. ณ อาคารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
อาจารย์ ดร.ประโลม บุญรัศมี ได้รับเชิญไปปฏิบัติงานเพื่อนำนิสิตออกศึกษาภาคสนาม ณ ไร่องุ่น Gramonte อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

อาจารย์ ดร.ประโลม บุญรัศมี อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาโปรตุเกส ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากศูนย์การศึกษาทั่วไป ไปปฏิบัติงานเพื่อนำนิสิตออกศึกษาภาคสนามในรายวิชา 0295110 ไวน์ศึกษา ณ ไร่องุ่น Gramonte อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566
อาจารย์ ดร.อัสนี พูลรักษ์ ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนในหัวข้อ “ภาษาบาลีและสันสกฤตในวรรณคดีไทย”

อาจารย์ ดร.อัสนี พูลรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนในหัวข้อ “ภาษาบาลีและสันสกฤตในวรรณคดีไทย” เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 เวลา 08:30 -11:20 น. ณ ห้อง 38 – 1301 และวันที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 13:30 – 16:20 น. ณ อาคาร 2 ห้อง 257 คณะมนุษยศาสตร์ มศว.
รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Chat GPT กับการทำงานวิจัยและการออกแบบการเรียนรู้”

รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับเชิญจากฝ่ายวิจัยและจัดการความรู้ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Chat GPT กับการทำงานวิจัยและการออกแบบการเรียนรู้” เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 13:00 -16:00 น. ผ่านระบบออนไลน์
คณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมโครงการ “พัฒนาต้นแบบการศึกษาร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลองเสมือนจริงออนไลน์”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพยา จินตโกวิท อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนันท์ จันทร์เจ้าฉาย อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับเชิญจากภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ ไปเข้าร่วมประชุมโครงการ “พัฒนาต้นแบบการศึกษาร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลองเสมือนจริงออนไลน์(Inter-Professional Medical Education Model Development for Enhancing Emergency Patients Safety through Online Virtual Simulation-based Learning Platform Project) ” เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 17:00 – 19:00 ผ่านระบบออนไลน์
อาจารย์ ดร.สรคม ดิสสะมาน ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรการเสวนา เรื่อง “Open Access: ผลกระทบต่อการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในวารสารแบบเปิด”

อาจารย์ ดร.สรคม ดิสสะมาน อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากสำนักงานวิทยทรัพยากร ไปเป็นวิทยากรการเสวนา เรื่อง “Open Access: ผลกระทบต่อการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในวารสารแบบเปิด” ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เวลา 14:00 – 16:00 น. ผ่านระบบออนไลน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพยา ทิพยา จินตโกวิท ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในรายวิชา 070153711 Entrepreneurship Skills

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพยา จินตโกวิท อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ไปเป็นวิทยากรบรรยายในรายวิชา 070153711 Entrepreneurship Skills ในภาคการเรียนที่ 2/2566 สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ) ในวันที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 09:00 – 12:00 น. ณ ห้อง 7A02 ชั้น 7 อาคาร นวมินทรราชินี
Nurturing Emotional Intelligence with the Humanities

The Faculty of Arts, in collaboration with the Office of International Affairs at Chulalongkorn University and UNESCO, successfully organized a thought-provoking seminar titled “Cultivating Emotional Intelligence through the Humanities” held from September 7 to 9, 2023. This event marked a significant milestone in a joint effort to emphasize the pivotal role of arts and humanities […]
โครงการสัมมนาหัวข้อ “Nurturing Emotional Intelligence with the Humanities” วันที่ 7 – 9 กันยายน 2566 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะอักษรศาสตร์ร่วมกับสำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ องค์การ UNESCO จัดสัมมนาเรื่อง “การเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ด้วยมนุษยศาสตร์” ในวันที่ 7– 9 กันยายน 2566 โครงการสัมมนานี้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมมือเพื่อเน้นบทบาทของศิลปะและมนุษยศาสตร์ในการส่งเสริมความสามารถในการจัดการอารมณ์โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันที่ผู้คนต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนและความไม่มั่นคงอย่างที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ในการนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆในชุมชนอาเซียนได้แบ่งปันความรู้และประสบการณ์เพื่อให้เกิดการสนทนาและความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับบทบาทของสาขามนุษยศาสตร์ต่อความฉลาดด้านอารมณ์ ซึ่งจะนำไปสู่การมีชีวิตที่ดีของเยาวชนซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติ งานสัมมนานี้จัดเป็น 2 รูปแบบ วันที่ 7 กันยายน เป็นการเสวนา และวันที่ 8 และ 9 กันยายน เป็น workshops วันที่ 7 กันยายน ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆในชุมชนอาเซียนเข้าร่วมเสวนาซึ่งได้แก่ คุณพินิจ จันทรังษี Regional Advisor จาก UNESCO Professor Hanafi Hussin จาก Faculty of Creative Arts, University of Malaya Professor Rainier A. Ibana จาก Ateneo the Manila University และ ศาสตราจารย์พรรัตน์ ดำรุง และ ศาสตราจารย์ สุวรรณา สถาอานันท์ จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยการเสวนานี้จบด้วยการนำเสนอผลงานของนิสิต ซึ่งได้แก่ คุณชนัตถ์ พงษ์พานิช นิสิตปริญญาเอกวิชาศิลปการละคร เรื่อง “การใช้ศิลปะการละครเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยความเห็นอกเห็นใจสำหรับนักศึกษาแพทย์ไทย” คุณพิชญ์ไกร ไชยเดช นิสิตปริญญาโทวิชาศิลปการละคร เรื่อง โปรแกรมการแสดงสื่อสาระเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งการฟื้นตัว (Resilience: Lecture Performance) และ นิสิตปริญญาตรีคือคุณพิชญาณ์มญชุ์ ชนไพโรจน์ ปี 2 เอกการละคร อักษรศาสตร์ จุฬาฯ คุณปิยภพ พาณิชผล ปี 3 นิสิตแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี และ คุณภูวเดช เหล่าผดุงรัชกร ปี 2 แพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ […]