ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กุสุมา รักษมณี ได้รับรางวัลหนังสือสารคดีด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และชีวประวัติ จากการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2567

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กุสุมา รักษมณี อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 30 ได้รับรางวัลหนังสือสารคดีด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และชีวประวัติ จากการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2567 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (สพฐ.) จากหนังสือ “กุหลาบเปอร์เซียในแดนสยาม” โดยจะเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 ในวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม นี้
การบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ความรู้เพื่อชุมชน: โครงการบันทึกภาษาและวัฒนธรรมมอแกลน”

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญรับฟังการบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ความรู้เพื่อชุมชน: โครงการบันทึกภาษาและวัฒนธรรมมอแกลน” ร่วมเสวนาโดย รองศาสตราจารย์ ดร. พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ ภาควิชาภาษาศาสตร์ และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นยา สุจฉายา ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิคม แสงไชย หน่วยปฏิบัติการวิจัย The Arc of Memory โครงการคลังข้อมูลของแผ่นดินสยาม ยุครัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ————————————————————————- เนื้อหาการบรรยาย โครงการบันทึกภาษาและวัฒนธรรมมอแกลน เป็นตัวอย่างของการวิจัยแบบบูรณาการที่มุ่งสร้างองค์ความรู้เพื่อชุมชน ชาวมอแกลนเป็นหนึ่งในสามกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลบริเวณชายฝั่งอันดามันของประเทศไทยที่มีภาษาและวัฒนธรรมเฉพาะ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการผสมกลมกลืนและแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับกลุ่มชนรอบด้านอยู่เสมอ โครงการบันทึกภาษาและวัฒนธรรมมอแกลนจึงบูรณาการการวิจัยด้านภาษาศาสตร์และคติชนวิทยากับการสร้างคลังข้อมูลทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เพื่อสื่อสารเรื่องราวของชาวมอแกลนสู่สาธารณะ โครงการนี้จึงเป็นตัวอย่างของงานวิจัยที่มุ่งประโยชน์เชิงวิชาการคู่กับประโยชน์ต่อชุมชน รับชมย้อนหลังได้ที่นี่
Call for papers: “Asian TV Dramas and the Popular Mind in Southeast Asia”

The College of Liberal Arts, De La Salle University, in collaboration with the Faculty of Arts, Chulalongkorn University, is hosting a conference-workshop entitled “Asian TV Dramas and the Popular Mind in Southeast Asia” (hybrid event) on May 20-22, 2024 at De La Salle University, Manila, Philippines. The twenty-first century has witnessed the phenomenal development of […]
งานเทศกาลออกร้านหนังสือ ครั้งที่ 13 อ่านสร้างสุข (13th Arts Chula Book Fest : Reading fo Happiness)

เมื่อวันที่ 19 – 23 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 9.00 – 17.00 น. ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จัดงานเทศกาลออกร้านหนังสือ ครั้งที่ 13 อ่านสร้างสุข (13th Arts Chula Book Fest : Reading fo Happiness) บริเวณโถงใต้ตึกอาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ ผู้สนใจสามารถเลือกซื้อหนังสือราคาพิเศษจากร้านค้าชั้นนำมากมาย เช่น ร้านหนังสือยิปซี ร้านหนังสือเก่าสวนอักษร ร้านนายอินทร์ สำนักพิมพ์บันลือบุ๊คส์ อีกทั้งมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น กิจกรรมชวนอ่าน จากนักอ่านนิสิตคณะอักษรศาสตร์กับหนังสือเล่มโปรด กิจกรรม DIY “ฮีลใจคลายเครียด” รวมถึงร่วมชิม ช็อป อาหารและสินค้าต่าง ๆ
ประชาคมอักษรศาสตร์ มอบเงินและสิ่งของบริจาค ณ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต (ผศ.ดังกมล ณ ป้อมเพชร) ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ กรรมการกิจการนิสิต และนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ได้เป็นตัวแทนประชาคมอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ไปมอบเงินและสิ่งของบริจาค พร้อมทั้งเยี่ยมชมการดำเนินงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และให้กำลังใจทั้งเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการของสถานสงเคราะห์ รวมกับผู้แทนจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะเศรษฐศาสตร์ อันเป็นกิจกรรมในโครงการห้าสายธารแห่งความดี เราทำดีด้วยหัวใจ ของสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรีเป็นสถานที่ที่ให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งหญิงตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป ทั้งเรื่องปัจจัยสี่ อาหาร ที่พัก เครื่องใช้ที่จำเป็น การรักษาพยาบาลโดยเจ้าหน้าที่พยาบาล แพทย์ทางจิตเวชและผิวหนัง จัดทำทะเบียนประวัติ ติดต่อญาติ ให้คำปรึกษาแนะนำแก้ไขปัญหา ฟื้นฟูสภาพจิตใจ จัดทำกิจกรรมบำบัดผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น งานหัตถกรรม ตัดเย็บ เสริมสวย และการเกษตรเพื่อให้ผู้สูงอายุมีกำลังใจและสามารถช่วยเหลือบุคคลอื่นได้ด้วย จำนวนผู้ที่อยู่ในความดูแลมีจำนวนทั้งสิ้น 438 คนต่อความดูแลของเจ้าหน้าที่ 38 คน งานกิจการนิสิต คณะอักษรศาสตร์ ขอขอบพระคุณผู้บริจาคทุกท่านมา ณ ที่นี้
ฝ่ายวิรัชกิจร่วมกับมูลนิธิ Khyentse จัดพิธีมอบทุนการศึกษามูลนิธิ Khyentse ประจำปีการศึกษา 2566

วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ฝ่ายวิรัชกิจ คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิ Khyentse จัดพิธีมอบทุนการศึกษามูลนิธิ Khyentse ประจำปีการศึกษา 2566 วัตถุประสงค์ของทุนดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการศึกษาพุทธศาสน์ศึกษาในประเทศไทยในระดับนานาชาติ โดยมอบให้แก่นิสิตที่ศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาและมีผลการเรียนดี จำนวน 3 ท่าน คือ 1. พระมหาสราวุธ โพธิ์ศรีขาม หัวข้อวิทยานิพนธ์ “พุทธธรรมในนิตยสารธรรมจักษุในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นบรรณาธิการ พ.ศ. ๒๔๓๗-๒๔๕๔: ความเป็นมา สารัตถะ และบทบาทต่อพุทธศาสนาไทย” จากหลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลี-สันสกฤตและพุทธศาสน์ศึกษา 2. นายอิ้ปิน หลิง (Mr. Yibin Ling) หัวข้อวิทยานิพนธ์ “การส่งเสริมการปฏิบัติโพธิสัตวมหายานธรรมผ่านพระกษิติครรภ์มหาโพธิสัตว์ในมูลนิธิพุทธจักษุวิชาลัย อารามวัตรมหายาน (วัดกษิติครรภ์) จังหวัดนครปฐม” จากหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) 3. นายเจ้า แก่นสาร ทุ่งกว้าง (Mr. Chow Kensan Tunkhang) หัวข้อวิทยานิพนธ์ […]
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์ และคุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 47 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์ และคุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 47 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567
งาน “ศึกษารมภ์ 2567” จัดโดย สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ร่วมกับ ศูนย์อินเดียศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภารตวิถี ครั้งที่ 39)

เมื่อวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:30น. Ms. Paulomi Tripathi อัครราชทูตอินเดีย (Deputy Chief of Mission and Deputy PR to UNESCAP) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีบูชาพระสรัสวตี พระคเณศ และพระลักษมี ในงาน “ศึกษารมภ์ 2567” จัดโดย สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์อินเดียศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภารตวิถี ครั้งที่ 39) ณ โถงอาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ได้จัดพิธีดังกล่าว เป็นงานประจำปีต่อเนื่องเป็นครั้งที่แปดแล้ว ในทุกครั้งจะเชิญพราหมณ์บัณฑิตชาวอินเดียเป็นผู้นำประกอบพิธี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตของสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ และบุคคลทั่วไปได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของอินเดีย เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภารตวิทยา และวัฒนธรรมอินเดียที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมไทย และเพื่อประชาสัมพันธ์การเรียนการสอนและกิจกรรมของสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ เมื่อ ผศ.ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ หัวหน้าสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ได้กล่าวรายงาน จากนั้นรศ.ดร. สุรเดช โชติอุดมพันธุ์ […]
รองศาสตราจารย์ ดร.วริตตา ศรีรัตนา ได้รับรางวัล Women’s Forum Prize จากสมาคมสลาวิกศึกษาและยุโรปตะวันออกศึกษาแห่งบริเตนใหญ่

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่รองศาสตราจารย์ ดร.วริตตา ศรีรัตนา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ ได้รับรางวัล Women’s Forum Prize จากสมาคมสลาวิกศึกษาและยุโรปตะวันออกศึกษาแห่งบริเตนใหญ่ จากผลงานวิจัยเรื่อง ‘I Burn (Marx’s) Paris: “Capital” Cities, Alienation and Deconstruction in the Works of Bruno Jasieński’ ที่ได้รับตีพิมพ์ในหนังสือชื่อ Temporalities of Modernism, ed. by Carmen Borbély, Erika Mihálycsa and Petronia Petrar, European Modernism Studies, 9 (Milan: Ledizioni, 2022), pp. 147–71 ด้วยทุนสนับสนุนจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การแปล การล่าม และการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการตัดสินผลงานแถลงว่าบทความวิจัยชิ้นนี้ “น่าประทับใจ ขอบเขตวิจัยกว้างขวาง […]
คณะอักษรศาสตร์ เปิดรับสมัครนิสิตใหม่ระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-เอก) ประจำภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2567

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดรับสมัครนิสิตใหม่ระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-เอก) ประจำภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2567 โดยมีหลักสูตรระดับปริญญาโททั้งหมด 12 หลักสูตร และมีหลักสูตรระดับปริญญาเอกทั้งหมด 11 หลักสูตร ผู้สนใจสามารถดูประกาศรับสมัคร กำหนดการของแต่ละหลักสูตร รายละเอียดแนบท้ายของแต่ละสาขาวิชา และสมัครด้วยตนเองได้ที่เว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (https://www.register.gradchula.com)
สาขาวิชาภาษาจีน ร่วมกับสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน “อำลาปีเถาะ ต้อนรับปีมะโรง”

เมื่อวันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 สาขาวิชาภาษาจีน คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน “อำลาปีเถาะ ต้อนรับปีมะโรง” เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนปี 2567 ณ พื้นที่โถง ชั้น 1 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์
รองศาสตราจารย์สดใส พันธุมโกมล ผู้ก่อตั้งภาควิชาศิลปการละคร ได้ประทับรอยมือเป็น “ดาว” ดวงที่ 200 ณ หอภาพยนตร์

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 รองศาสตราจารย์สดใส พันธุมโกมล ผู้ก่อตั้งภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ ได้ประทับรอยมือเป็น “ดาว” ดวงที่ 200 ณ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
คุณภัทรสุดา อนุมานราชธน อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 68 ได้รับรางวัลเหรียญอิสริยาภรณ์ สาขาศิลปศาสตร์และอักษรศาสตร์ ชั้นอัศวิน

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่คุณภัทรสุดา อนุมานราชธน อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 68 เอกวิชาศิลปการละคร ผู้กำกับละครเวทีเรื่อง ART ได้รับรางวัลเหรียญอิสริยาภรณ์ สาขาศิลปศาสตร์และอักษรศาสตร์ ชั้นอัศวิน (chevalier de l’ordre des Arts et des Lettres) โดยมี Ève Lublin ที่ปรึกษาทูตฝ่ายวัฒนธรรมและความร่วมมือแห่งประเทศไทย เป็นผู้แทนมอบเหรียญ คุณบัว ภัทรสุดา ยังเคยเป็นนักแสดง (คุณพุ่ม ใน “บุษบาลุยไฟ”) และเป็นผู้กำกับละครเวทีเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลการกำกับการแสดงยอดเยี่ยม (Best Directing award) จากชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง (International Association of Theatre Critics—Thailand Center) ถึงสองครั้ง (จากละครเรื่อง “คนก้างปลา” พ.ศ. 2559 และ ART (พ.ศ. 2565) รางวัลเหรียญอิสริยาภรณ์ สาขาศิลปศาสตร์และอักษรศาสตร์ ชั้นอัศวิน เป็นรางวัลที่มอบให้กับผู้ที่สร้างผลกระทบผ่านงานศิลปะหรือวรรณกรรมให้กับคนในฝรั่งเศสหรือทั่วโลก
คณบดีคณะอักษรศาสตร์มอบกระเช้าและร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 107 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มอบกระเช้าและร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 107 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ประณัฐ โพธิยะราช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้รับมอบ
โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยเข้าเยี่ยมชมคณะและเข้ารับฟังคำบรรยายเกี่ยวกับการศึกษาต่อและการจัดการหลักสูตร

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 9.00 – 11.00 น. โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยและเครือข่ายผู้ปกครองมัธยมศึกษา ได้เข้าเยี่ยมชมคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การเข้าเยี่ยมชมฯ ครั้งนี้เปิดโอกาสให้นักเรียนและผู้ปกครองได้เรียนรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่สนใจและเปิดสอนในคณะฯ รวมถึงเห็นบรรยากาศจริงของการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเลือกศึกษาต่อและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ รองคณบดี (รับผิดชอบงานด้านวิชาการ) อ.ดร.ภณิตา ศิลปวิทยาดิลก ผู้ช่วยคณบดี (รับผิดชอบงานด้านวิชาการ) และคุณวราพร พวงจันทร์หอม ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ให้การต้อนรับ