ขอเชิญเข้าร่วมฟังชุดการเสวนาและบรรยายเรื่อง “ศกุนตลา : วรรณคดีภารตะในบริบทวรรณกรรมโลก“

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนาวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังชุดการเสวนาและบรรยายเรื่อง “ศกุนตลา : วรรณคดีภารตะในบริบทวรรณกรรมโลก“ วันที่ 2 พฤษภาคมนี้ ณ ห้อง 304 ชั้น 3 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://bit.ly/3w33g6H ที่นั่งจำนวนจำกัด 9:30-9:40 พิธีเปิด9:40-10:20 บรรณาธิการกิจ: กว่าจะเป็นอภิชญานศากุนตลัมภาษาไทย(ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กุสุมา รักษมณี และ รองศาสตราจารย์ ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์) 10:20-10:45 จากดาบสกันยาสู่มหาราชินี: การรังสรรค์บทละครของกาลิทาส (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว) 10:45-11:10 ศกุนตลาในวรรณคดีสันสกฤตอื่น (อาจารย์ ดร.บุณฑริกา บุญโญ) 11:10-11:30 เมื่อศกุนตลาแต่งกาย: อลังการและความงามในอภิชญานศากุนตลัม(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นาวิน โบษกรนัฏ) 11:30-11:55 ศกุนตลาในสายตาชาวโลก: การรับรู้เรื่องศกุนตลานอกอินเดีย(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนสิชา เอกปิยะพรชัย) * ในการนี้ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา จะนำหนังสืออภิชญานศากุนตลัมมาจำหน่ายในราคาพิเศษเฉพาะงานนี้เท่านั้น * ชุดการเสวนาและการบรรยายจะมีการบันทึกและเผยแพร่ทางสื่อของคณะในภายหลัง
ขอเชิญชวนนิสิตและนักศึกษาที่สนใจ (ไม่จำกัดคณะ สาขาวิชา ชั้นปี และสถาบัน) เข้าร่วมแข่งขันในงาน Microsoft ASEAN AI for Accessability Hackathon

ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Microsoft ขอเชิญชวนนิสิตและนักศึกษาที่สนใจ (ไม่จำกัดคณะ สาขาวิชา ชั้นปี และสถาบัน) เข้าร่วมแข่งขันในงาน Microsoft ASEAN AI for Accessability Hackathon เพื่อนำเสนอไอเดียที่ AI และ Cloud จะสามารถสนับสนุนให้ผู้พิการขยายขีดความสามารถและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะได้รับการฝึกอบรมและคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของ Microsoft และศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2567 และนำเสนอไอเดียเพื่อเข้ารับการประเมินภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่ส่งผลงานที่ได้รับการคัดเลือกในรอบสุดท้าย จะต้องนำเสนอไอเดียต่อคณะกรรมการตัดสินในวันที่ 18 มิถุนายน 2567 การแข่งขันจะเป็นประเภททีม ที่มีจำนวนสมาชิกระหว่าง 2-5 คน ผู้ที่สนใจสามารถกรอกข้อมูลการสมัครได้ที่ https://aka.ms/AI4AHackTH หรือสแกน QR Code ภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2567
ขอเชิญฟังเพลงสงกรานต์ 12 ภาษา กำกับดนตรีโดย รศ.ดร.จารุณี หงส์จารุ

เนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์ คณะอักษรศาสตร์ขอเชิญท่านฟังเพลงสงกรานต์ 12 ภาษา กำกับดนตรีโดย รศ.ดร.จารุณี หงส์จารุ อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปการละคร และบทเพลงส่วนหนึ่งแปลโดยคณาจารย์และศิษย์เก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการนี้อำนวยการผลิตโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ท่านสามารถดาวน์โหลดบทเพลงได้จากลิงก์นี้ https://bit.ly/12L_SongkranSong บทเพลง “สงกรานต์” ฉบับ 12 ภาษา ทำนอง & กำกับดนตรี : จารุณี หงส์จารุ เรียบเรียง & กำกับวง : วิรัช อยู่ถาวร บรรเลง : วงดนตรีเฉลิมราชย์ ภาษาเอเชีย 8 ภาษา คำร้องไทย : สิริกุล นรินทร์ แปลคำร้อง เกาหลี : แฮ จอง คิม จีน : ประพิณ มโนมัยวิบูลย์ ญี่ปุ่น : เดือนเต็ม กฤษดาธานนท์ […]
คณะอักษรศาสตร์ขอขอบพระคุณคุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ (อ.บ. 47) ที่มอบเงินจากการจำหน่ายหนังสือ “เงินไม่ใช่ทุกอย่าง แต่ทุกอย่างเริ่มต้นที่เงิน” เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นิสิตคณะอักษรศาสตร์

คณะอักษรศาสตร์ขอขอบพระคุณคุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ (อ.บ. 47) กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการกิตติมศักดิ์สมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ฯ ที่มอบเงินจากการจำหน่ายหนังสือ “เงินไม่ใช่ทุกอย่าง แต่ทุกอย่างเริ่มต้นที่เงิน” เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
A seminar on “Aphasia and Bilingualism,” co-hosted by the Faculty of Arts at Chulalongkorn University and the University of Hong Kong

Click here to (re)watch the seminar “Aphasia and Bilingualism,” co-hosted by the Faculty of Arts at Chulalongkorn University and the University of Hong Kong. This virtual event featured insightful presentations by esteemed speakers: – Professor Anthony Kong, PhD, Director of the Aphasia Research and Therapy (ART) Laboratory at The University of Hong Kong. – Ms. […]
รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่ นางปัทมา ฮอว์กินส์ เนื่องในโอกาสได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาดูงาน ณ University of Granada ราชอาณาจักรสเปน

รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดี (รับผิดชอบงานด้านวิรัชกิจ) มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแก่ นางปัทมา ฮอว์กินส์ บุคลากรสายปฏิบัติการ สังกัดภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ เนื่องในโอกาสได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาดูงาน ณ University of Granada ราชอาณาจักรสเปน ระหว่างวันที่ 15 – 19 เมษายน 2567 เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม 26th Staff Training Week International Relations: Looking Towards the Future ซึ่งเป็นกิจกรรมความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ University of Granada เพื่อการแลกเปลี่ยนบุคลากรสายวิชาการและสายปฏิบัติการให้มีโอกาสได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติ ดูงาน และสร้างเครือข่ายความร่วมมืองานด้านวิรัชกิจ
ศิษย์เก่าคณะอักษรศาสตร์ได้รับการคัดเลือกเป็นนักเรียนเก่าฝรั่งเศสดีเด่น 2567 (Lauréats de l’AAEF 2024)

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ศิษย์เก่าคณะอักษรศาสตร์ได้รับการคัดเลือกเป็นนักเรียนเก่าฝรั่งเศสดีเด่น 2567 (Lauréats de l’AAEF 2024) – สาขาศิลปะ วัฒนธรรม ศ.เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ (อ.บ. รุ่น 24 และอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ดีเด่น พ.ศ. 2540) – สาขาครู/อาจารย์/นักวิชาการ รศ. ดร.ธิดา บุญธรรม (อ.บ. รุ่น 25) ดร. จงกล สุภเวชย์ (อ.บ. รุ่น 28) – สาขาสถาปนิก นักผังเมืองและวิศวกร ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์ (อ.บ. รุ่น 41) – สาขาอักษรศาสตร์/การแปล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วีรวิทย์ เศรษฐวงศ์ (อ.บ. รุ่น 43) อ. ดร.สิริวรรณ […]
ขอเชิญรับชมบันทึกการถ่ายทอดงานเสวนา “Mastering Thai at Your Own Pace: Soft Power Through Self-Directed Learning” ณ ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล อาคารบรมราชกุมารี

บันทึกการถ่ายทอดงานเสวนา “Mastering Thai at Your Own Pace: Soft Power Through Self-Directed Learning” ณ ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล อาคารบรมราชกุมารี รับชมได้ที่นี่ วิทยากร: รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.เกียรติ เทพช่วยสุข ผู้อำนวยการศูนย์ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ คุณธฤต จรุงวัฒน์ เลขาธิการมูลนิธิไทย ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
ขอเชิญรับชมละครเวทีเฉลิมพระเกียรติเรื่อง “แต่บแตบตะแล้บแตบแตบ” จากพระราชนิพนธ์นิทาน ระหว่างวันที่ 5 – 8 มิถุนายน 2567

ในโอกาสที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จะทรงเจริญพระชนมายุ 69 พรรษาในวันที่ 2 เมษายน 2567 นี้ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ฯ จะจัดการแสดงละครเวทีเฉลิมพระเกียรติเรื่อง “แต่บแตบตะแล้บแตบแตบ” จากพระราชนิพนธ์นิทาน ระหว่างวันที่ 5 – 8 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพด้านการประพันธ์และพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาและการพัฒนาเยาวชน ตลอดจนเพื่อเป็นกิจกรรมจัดหาทุนการศึกษาให้แก่นิสิตปัจจุบันของคณะอักษรศาสตร์ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตเก่ากับนิสิตปัจจุบันและระหว่างเยาวชนกับครอบครัว ในการนี้ คณะอักษรศาสตร์ ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตเชิญพระราชนิพนธ์นิทาน 7 เรื่อง คือ เพลงดูควาย นิทานเรื่องเกาะ หลวงจีนสามรูป ศิลปินวาดไก่ ตาดีมือแป นิทานทาจิกีสถานเรื่อง นกคาฮา และนักดนตรีเถื่อน มาจัดแสดง โดยมีศาสตราจารย์พรรัตน์ ดำรุง เป็นผู้สร้างบทและกำกับการแสดง อาจารย์สินนภา สารสาส ประพันธ์และกำกับดนตรี บุญพงษ์ พานิช ร่วมสร้างสรรค์และกำกับการแสดง […]
บุคลากร ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2566

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่บุคลากร ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2566 ดังต่อไปนี้ 1.รางวัลยกย่องบุคลากรที่ทำชื่อเสียงระดับนานาชาติและระดับชาติ – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร บุญรุ่ง – รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล 2.รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นของนิสิตระดับปริญญาเอก วิทยานิพนธ์ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างสัทสัมพันธ์ของคำประสมภาษาไทยกับการกลายเป็นศัพท์ โดย ดร.ลีนา มะลูลีม อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รองศาสตราจารย์ ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ ภาควิชาภาษาศาสตร์ 3.รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นของนิสิตระดับปริญญาโท วิทยานิพนธ์ เรื่อง ความเชื่อและพิธีกรรมในชุมชนอีสานที่มีภูมินามเกี่ยวข้องกับเรื่องคันธนาโดย นายปฏิวัติ มาพบ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รองศาสตราจารย์ ดร.ปรมินท์ จารุวร ภาควิชาภาษาไทย 4.รางวัลศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (CE) ที่มีผลงานดีเด่น ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (ปีที่ 4) หัวหน้าศูนย์: รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ 5.รางวัลหน่วยปฏิบัติการวิจัย (RU) ที่มีผลงานดีเด่น สาขามนุษยศาสตร์ […]
รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ได้รับเชิญไปเป็นผู้ตรวจประเมินคุณภาพหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน เพื่อทำหน้าที่ตรวจประเมินคุณภาพหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม

รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากบริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด ไปเป็นผู้ตรวจประเมินคุณภาพหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน เพื่อทำหน้าที่ตรวจประเมินคุณภาพหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในโครงการวิจัยเรื่อง “โครงการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา :การพัฒนาระบบรองรับสังคมสูงวัยในชุมชนเมืองภาคตะวันออก” และโครงการวิจัยเรื่อง “บางแสนสร้างสรรค์ : เสริมสร้างเมืองให้แข็งแกร่งด้วย ศิลปะร่วมสมัยของชุมชน”

รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากสำนักบริหารวิจัย ฝ่ายพัฒนาและบูรณาการงานวิจัย ไปเป็นวิทยากรบรรยายในโครงการวิจัยเรื่อง “โครงการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา :การพัฒนาระบบรองรับสังคมสูงวัยในชุมชนเมืองภาคตะวันออก” และโครงการวิจัยเรื่อง “บางแสนสร้างสรรค์ : เสริมสร้างเมืองให้แข็งแกร่งด้วย ศิลปะร่วมสมัยของชุมชน” ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 เวลา 08:30 – 12:00 น. ณ อาคารจามจุรี 4 ห้อง 202
อาจารย์ ดร.สรคม ดิสสะมาน ได้รับเชิญไปเป็นผู้ดำเนินรายการโครงการวิจัยเรื่อง “การสร้างคุณค่าร่วมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์พื้นที่ยอด – ภูลังกา ชายแดนจังหวัดน่านและพะเยา” และโครงการวิจัยเรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองมหาวิทยาลัยในภูมิภาคของประเทศไทยกรณีศึกษาเมืองพิษณุโลกบนความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวรและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”

อาจารย์ ดร.สรคม ดิสสะมาน อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากสำนักบริหารวิจัย ฝ่ายพัฒนาและบูรณาการงานวิจัย ไปเป็นผู้ดำเนินรายการโครงการวิจัยเรื่อง “การสร้างคุณค่าร่วมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์พื้นที่ยอด – ภูลังกา ชายแดนจังหวัดน่านและพะเยา” และโครงการวิจัยเรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองมหาวิทยาลัยในภูมิภาคของประเทศไทยกรณีศึกษาเมืองพิษณุโลกบนความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวรและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 เวลา 08:30 – 12:00 น. ณ อาคารจามจุรี 4 ห้อง 202
รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์สกุล ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “เทคโนโลยีสารสนเทศกับประเด็นทางกฎหมายและจริยธรรม”

รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากฝ่ายวิชาการ คณะพยาบาลศาสตร์ ไปเป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “เทคโนโลยีสารสนเทศกับประเด็นทางกฎหมายและจริยธรรม” เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 เวลา 13:00 – 15:00 น. ให้นิสิตในภาคในเวลาราชการ และวันที่ 21 เมษายน 2567 เวลา 10:00 – 12:00 น. ให้นิสิตภาคนอกเวลาราชการ ผ่านระบบออนไลน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนกร แก้ววิภาส ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง(Performance Agreement : PA) ปีงบประมาณ 2567

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนกร แก้ววิภาส อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเยอรมัน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ไปเป็นกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง(Performance Agreement : PA) ปีงบประมาณ 2567