ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์ และคุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 47 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์ และคุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 47 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567

งาน “ศึกษารมภ์ 2567” จัดโดย สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ร่วมกับ ศูนย์อินเดียศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภารตวิถี ครั้งที่ 39)

เมื่อวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:30น. Ms. Paulomi Tripathi อัครราชทูตอินเดีย (Deputy Chief of Mission and Deputy PR to UNESCAP) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีบูชาพระสรัสวตี พระคเณศ และพระลักษมี ในงาน “ศึกษารมภ์ 2567” จัดโดย สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์อินเดียศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภารตวิถี ครั้งที่ 39) ณ โถงอาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ได้จัดพิธีดังกล่าว เป็นงานประจำปีต่อเนื่องเป็นครั้งที่แปดแล้ว ในทุกครั้งจะเชิญพราหมณ์บัณฑิตชาวอินเดียเป็นผู้นำประกอบพิธี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตของสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ และบุคคลทั่วไปได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของอินเดีย เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภารตวิทยา และวัฒนธรรมอินเดียที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมไทย และเพื่อประชาสัมพันธ์การเรียนการสอนและกิจกรรมของสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ เมื่อ ผศ.ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ หัวหน้าสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ได้กล่าวรายงาน จากนั้นรศ.ดร. สุรเดช โชติอุดมพันธุ์ […]

รองศาสตราจารย์ ดร.วริตตา ศรีรัตนา ได้รับรางวัล Women’s Forum Prize จากสมาคมสลาวิกศึกษาและยุโรปตะวันออกศึกษาแห่งบริเตนใหญ่

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่รองศาสตราจารย์ ดร.วริตตา ศรีรัตนา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ ได้รับรางวัล Women’s Forum Prize จากสมาคมสลาวิกศึกษาและยุโรปตะวันออกศึกษาแห่งบริเตนใหญ่ จากผลงานวิจัยเรื่อง ‘I Burn (Marx’s) Paris: “Capital” Cities, Alienation and Deconstruction in the Works of Bruno Jasieński’ ที่ได้รับตีพิมพ์ในหนังสือชื่อ Temporalities of Modernism, ed. by Carmen Borbély, Erika Mihálycsa and Petronia Petrar, European Modernism Studies, 9 (Milan: Ledizioni, 2022), pp. 147–71 ด้วยทุนสนับสนุนจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การแปล การล่าม และการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการตัดสินผลงานแถลงว่าบทความวิจัยชิ้นนี้ “น่าประทับใจ ขอบเขตวิจัยกว้างขวาง […]

คณะอักษรศาสตร์ เปิดรับสมัครนิสิตใหม่ระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-เอก) ประจำภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2567

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดรับสมัครนิสิตใหม่ระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-เอก) ประจำภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2567 โดยมีหลักสูตรระดับปริญญาโททั้งหมด 12 หลักสูตร และมีหลักสูตรระดับปริญญาเอกทั้งหมด 11 หลักสูตร ผู้สนใจสามารถดูประกาศรับสมัคร กำหนดการของแต่ละหลักสูตร รายละเอียดแนบท้ายของแต่ละสาขาวิชา และสมัครด้วยตนเองได้ที่เว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (https://www.register.gradchula.com)

สาขาวิชาภาษาจีน ร่วมกับสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน “อำลาปีเถาะ ต้อนรับปีมะโรง”

เมื่อวันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 สาขาวิชาภาษาจีน คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน “อำลาปีเถาะ ต้อนรับปีมะโรง” เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนปี 2567 ณ พื้นที่โถง ชั้น 1 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์

รองศาสตราจารย์สดใส พันธุมโกมล ผู้ก่อตั้งภาควิชาศิลปการละคร ได้ประทับรอยมือเป็น “ดาว” ดวงที่ 200 ณ หอภาพยนตร์

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 รองศาสตราจารย์สดใส พันธุมโกมล ผู้ก่อตั้งภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ ได้ประทับรอยมือเป็น “ดาว” ดวงที่ 200 ณ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

คุณภัทรสุดา อนุมานราชธน อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 68 ได้รับรางวัลเหรียญอิสริยาภรณ์ สาขาศิลปศาสตร์และอักษรศาสตร์ ชั้นอัศวิน

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่คุณภัทรสุดา อนุมานราชธน อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 68 เอกวิชาศิลปการละคร ผู้กำกับละครเวทีเรื่อง ART ได้รับรางวัลเหรียญอิสริยาภรณ์ สาขาศิลปศาสตร์และอักษรศาสตร์ ชั้นอัศวิน (chevalier de l’ordre des Arts et des Lettres) โดยมี Ève Lublin ที่ปรึกษาทูตฝ่ายวัฒนธรรมและความร่วมมือแห่งประเทศไทย เป็นผู้แทนมอบเหรียญ คุณบัว ภัทรสุดา ยังเคยเป็นนักแสดง (คุณพุ่ม ใน “บุษบาลุยไฟ”) และเป็นผู้กำกับละครเวทีเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลการกำกับการแสดงยอดเยี่ยม (Best Directing award) จากชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง (International Association of Theatre Critics—Thailand Center) ถึงสองครั้ง (จากละครเรื่อง “คนก้างปลา” พ.ศ. 2559 และ ART (พ.ศ. 2565) รางวัลเหรียญอิสริยาภรณ์ สาขาศิลปศาสตร์และอักษรศาสตร์ ชั้นอัศวิน เป็นรางวัลที่มอบให้กับผู้ที่สร้างผลกระทบผ่านงานศิลปะหรือวรรณกรรมให้กับคนในฝรั่งเศสหรือทั่วโลก

คณบดีคณะอักษรศาสตร์มอบกระเช้าและร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 107 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มอบกระเช้าและร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 107 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ประณัฐ โพธิยะราช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้รับมอบ

โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยเข้าเยี่ยมชมคณะและเข้ารับฟังคำบรรยายเกี่ยวกับการศึกษาต่อและการจัดการหลักสูตร

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 9.00 – 11.00 น. โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยและเครือข่ายผู้ปกครองมัธยมศึกษา ได้เข้าเยี่ยมชมคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การเข้าเยี่ยมชมฯ ครั้งนี้เปิดโอกาสให้นักเรียนและผู้ปกครองได้เรียนรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่สนใจและเปิดสอนในคณะฯ รวมถึงเห็นบรรยากาศจริงของการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเลือกศึกษาต่อและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ รองคณบดี (รับผิดชอบงานด้านวิชาการ) อ.ดร.ภณิตา ศิลปวิทยาดิลก ผู้ช่วยคณบดี (รับผิดชอบงานด้านวิชาการ) และคุณวราพร พวงจันทร์หอม ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ให้การต้อนรับ

โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยเข้าเยี่ยมชมคณะและฟังคำบรรยายเกี่ยวกับการศึกษาต่อและการจัดการหลักสูตร

เมื่อวันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 11.00 – 12.00 น. คณะนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5/4 โครงการห้องเรียนพิเศษ English Program และครูผู้ควบคุม จำนวนทั้งสิ้น 29 คน จากโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต ได้เข้ารับฟังการบรรยายและแนะแนวการศึกษาต่อของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนได้มีข้อมูล ความรู้ และแนวคิดสำหรับการเลือกสาขาวิชา และคณะที่จะเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ รองคณบดี (รับผิดชอบงานด้านวิชาการ) อาจารย์ ดร.ตรีพล เกิดนาค รองผู้อำนวยการด้านวิชาการ (หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม (หลักสูตรนานาชาติ)) และผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ร่วมต้อนรับและบรรยายข้อมูลดังกล่าว

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มายังคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตร เนื่องในโอกาส 107 ปี คณะอักษรศาสตร์

เมื่อวันพุธที่ 3 มกราคม 2567 เวลา 07.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มายังคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตร เนื่องในโอกาส 107 ปี คณะอักษรศาสตร์ โดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ภิรมย์​ กมลรัตนกุล นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ผู้บริหารคณะอักษรศาสตร์ คณาจารย์ บุคลากร นิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบัน รวมถึงผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ และร่วมบำเพ็ญกุศลในการนี้ด้วย

พิธีบำเพ็ญกุศล เนื่องในโอกาส 107 ปี การสถาปนาคณะอักษรศาสตร์

คณะอักษรศาสตร์ นำโดย รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะอักษรศาสตร์ คณาจารย์ บุคลากร นิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบัน ร่วมกันจัดพิธีบำเพ็ญกุศล เนื่องในโอกาส 107 ปี การสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ ในวันที่ 3 มกราคม 2567 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร เวลา 9.30 – 11.00 น.

ขอขอบคุณท่านนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านคณบดี ผู้อำนวยการ และผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้มอบกระเช้าและของขวัญแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 107 ปี คณะอักษรศาสตร์

คณะอักษรศาสตร์ขอขอบคุณท่านนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านคณบดี ผู้อำนวยการ และผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้มอบกระเช้าและของขวัญแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 107 ปี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตโสมนัส ศิวะดิตถ์ ผู้แทน อ.บ. รุ่น 18 ที่บริจาคเงินสมทบทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การเรียน

คณะอักษรศาสตร์ขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตโสมนัส ศิวะดิตถ์ ผู้แทน อ.บ. รุ่น 18 ที่บริจาคเงินสมทบทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนให้กับนิสิตคณะอักษรศาสตร์เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2567 การนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ภักดีผาสุข รองคณบดีฝ่ายบริหาร เป็นผู้รับมอบ

กิจกรรมเฉลิมฉลอง เนื่องในวันภาษาฮินดีโลก 2567 (Vishva Hindi Diwas 2024)

เมื่อวันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2567 เวลา 15:00-18:00 น. สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย, ศูนย์อินเดียศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และไทยแลนด์ฮินดีปริษัท-อาศรมวัฒนธรรมไทยภารต จัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง เนื่องในวันภาษาฮินดีโลก 2567 (Vishva Hindi Diwas 2024) ณ ห้องอเนกประสงค์ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ เมื่อเริ่มพิธีจุดประทีปและสวดสรัสวตีวันทนา ตามธรรมเนียมประเพณีของอินเดียแล้ว รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้มาร่วมงาน จากนั้นนายนาเกซ ซิงห์ เอกอัครราชทูตอินเดีย ได้ขึ้นกล่าวพิเศษถึง บทบาทและความสำคัญของภาษาฮินดีที่กำลังมีมากขึ้นบนเวทีโลก ต่อจากนั้น รองศาสตราจารย์สุรัตน์ โหราชัยกุล ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเป็นผู้มอบ “รางวัลวิทยาทานวินายก 2567” แก่นายสุนิว โคธารี ผู้มีคุณูปการ สร้างคุณประโยชน์ปรากฏเป็นที่ประจักษ์แก่วงการอินเดียศึกษาในประเทศไทย ศูนย์อินเดียศึกษาได้ริเริ่มมอบรางวัลดังกล่าวเป็นครั้งแรกในปีนี้ จากนั้นเป็นกิจกรรมประกวดแข่งขันความสามารถทางภาษาฮินดีของนักเรียน นิสิตนักศึกษาจาก 6 สถาบันได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]