ขอเชิญรับชมการบรรยายย้อนหลังเรื่อง “การชำระคัมภีร์ต้นฉบับมหาปราติหารยสูตรจากกิลกิต” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์

เมื่อวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566 กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “การชำระคัมภีร์ต้นฉบับมหาปราติหารยสูตรจากกิลกิต” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ เวลา 14.00 – 15.30 น. ณ ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล ชั้น 2 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านสามารถรับชมการบรรยายย้อนหลังได้ที่นี่ เนื้อหาการบรรยาย มหาปราติหารยสูตรเป็นพระสูตรที่เล่าเรื่องการแสดงปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี สำนวนภาษาสันสันสกฤตที่เก่าที่สุดของนิกายมูลสรวาสติวาทิน คัมภีร์ต้นฉบับมหาปราติหารยสูตรปรากฏเป็นชิ้นส่วนมีสภาพไม่สมบูรณ์ พบที่เมืองกิลกิต ประเทศปากีสถาน กำหนดอายุราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-8 การบรรยายครั้งนี้จะเล่าถึงขั้นตอนการศึกษา การปริวรรตและจัดทำฉบับชำระเชิงวิพากษ์ ซึ่งทำให้สามารถสืบสร้างตัวบทมหาปราติหารยสูตร สำนวนภาษาสันสกฤตที่มีความใกล้เคียงกับตัวบทดั้งเดิมมากที่สุด

คณะอักษรศาสตร์จัดงาน “ชมอักษรฯ” (งานพบผู้ปกครองนิสิตใหม่) ประจำปีการศึกษา 2566

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2566 เวลา 8.30 – 12.00 น. ณ ห้อง 301 – 302 ชั้น 3 อาคารมหาจักรีสิรินธร งานกิจการนิสิต กลุ่มภารกิจงานบริการการศึกษา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดังกมล ณ ป้อมเพชร รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต จัดงาน “ชมอักษรฯ” (งานพบผู้ปกครองนิสิตใหม่) ประจำปีการศึกษา 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับคณะอักษรศาสตร์ การแนะแนวทางการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของนิสิตใหม่ การแนะนำหลักสูตรต่าง ๆ ให้ผู้ปกครองนิสิตใหม่รับทราบ การชี้แจงกฎระเบียบและวินัยของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ ที่นิสิตพึงได้รับระหว่างการศึกษา การจัดงานครั้งนี้ ได้รับการตอบรับและความสนใจจากผู้ปกครองของนิสิตใหม่เป็นอย่างมาก

อาจารย์ ดร.สรคม ดิสสะมาน ได้รับเชิญไปเข้าร่วมโครงการการประชุมและการนำเสนอบทความทางวิชาการระดับชาติ เรื่อง การจัดการศึกษาและวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

อาจารย์ ดร.สรคม ดิสสะมาน อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปเข้าร่วมโครงการการประชุมและการนำเสนอบทความทางวิชาการระดับชาติ เรื่อง การจัดการศึกษาและวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(Education Management,Library and Information Science Research for SDGs) เมื่อวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08:00 – 17:10 น. ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 กทม. 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบรรณ์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในหัวข้อ“โครงการเสวนาวิชาการ: Soft Power มุมมองผ่านสื่อและการศึกษา” 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบรรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ไปเป็นวิทยากรในหัวข้อ“โครงการเสวนาวิชาการ: Soft Power มุมมองผ่านสื่อและการศึกษา” เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 – 16:00 น. ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ ได้รับเชิญไปเป็นคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ (Editorial Board) ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ครั้งที่ 3 (Thailand 3rd Annual Conference on Anthropology and Sociology) 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา ได้รับเชิญจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปเป็นคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ (Editorial Board) เพื่อทำหน้าที่คัดเลือกบทคัดย่อและ/หรือบทความ เสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบบทความก่อนการเผยแพร่ การประชุมวิชาการระดับชาติด้านมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ครั้งที่ 3 (Thailand 3rd Annual Conference on Anthropology and Sociology) ภายใต้หัวข้อ“ม(า)นุษยะ ในภาวะพลิกผัน” เมื่อวันที่ 2 – 3 พฤศจิกายน 2566 ณ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาจารย์ ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในหัวข้อ “การจัดการเอกสาร ธรรมาภิบาล ข้อมูลและนโยบายไทยแลนด์๔.๐” 

อาจารย์ ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากสมาคมจดหมายเหตุไทย ไปเป็นวิทยากรในหัวข้อ “การจัดการเอกสาร ธรรมาภิบาล ข้อมูลและนโยบายไทยแลนด์๔.๐” เมื่อวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13:00 – 16:00 น. ผ่านระบบออนไลน์

อาจารย์ ดร.ดาวเรือง วิทยารัฐ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในกิจกรรมเสริมหลักสูตร ชื่อตอน เขมรเป็นเหตุ สังเกตได้

อาจารย์ ดร.ดาวเรือง วิทยารัฐ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ วิทยาเขตปัตตานี ไปเป็นวิทยากรบรรยายในกิจกรรมเสริมหลักสูตร ชื่อตอน เขมรเป็นเหตุ สังเกตได้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 – 16:00 น. ผ่านระบบออนไลน์

อาจารย์ ดร.ใกล้รุ่ง อามระดิษ ได้รับเชิญจากไปเป็นวิทยากรบรรยายในโครงการสร้างเสริมสามัตถิยะด้านภาษาไทย ชุดองค์ความรู้ภาษาเขมร

อาจารย์ ดร.ใกล้รุ่ง อามระดิษ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ไปเป็นวิทยากรบรรยายในโครงการสร้างเสริมสามัตถิยะด้านภาษาไทย ชุดองค์ความรู้ภาษาเขมร ; อักษราวิชชาจารย์ ซึ่งมีเนื้อหาในเชิงวิชาศัพทมูลวิทยา ชื่อตอน ภาษาเขมรเพื่อการสอนภาษา ในวันที่ 13 – 14 มกราคม 2567  เวลา 09:00 – 16:00 น. ผ่านระบบออนไลน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนกร แก้ววิภาส ได้รับเชิญจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ไปเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (Performance Agreement: PA) ปีงบประมาณ 2566

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนกร แก้ววิภาส อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเยอรมัน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ไปเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (Performance Agreement: PA) ปีงบประมาณ 2566 ข้าราชการครู โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน  2566 ณ ห้องศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ชั้น 1 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย 

คณาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขัน BBTeach Speech Contest 2023 รองชิงชนะเลิศ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศนิ ชาติอุดมเดช อาจารย์ ดร.ชื่นสุมน ธรรมนิตยกุล และอาจารย์ ดร.พราว เศรษฐบุตร อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ ได้รับเชิญจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) ไปเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขัน BBTeach Speech Contest 2023 รองชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 – 16:00 น. ณ ห้องประชุมบานเย็น สายัณหวิกสิต ชั้น 15 อาคารมหาวชิรุณหิศ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในหัวข้อ รวมพลังสร้างสรรค์งานวิจัยนวัตกรรม เพื่อสังคมที่ยั่งยืน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์ ได้รับเชิญจากฝ่ายการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ไปเป็นวิทยากรในหัวข้อ รวมพลังสร้างสรรค์งานวิจัยนวัตกรรม เพื่อสังคมที่ยั่งยืน ในโครงการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ และนักวิจัยใหม่หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่ รุ่นที่ 28 ระหว่างวันที่ 21 – 22 ธันวาคม 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ เซ็นเตอร์พอยต์ พัทยา จังหวัดชลบุรี

รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรหัวข้อ ลิขสิทธิ์การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอน

รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากฝ่ายการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ไปเป็นวิทยากรหัวข้อ ลิขสิทธิ์การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอน ในโครงการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ และนักวิจัยใหม่หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่ รุ่นที่ 28 ในวันที่18 ธันวาคม 2566 เวลา 08:30 – 09:30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร 

รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรเรื่อง “การใช้เทคโนโลยี AI ในการทำวิจัยด้านภาษาศาสตร์” 

รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับเชิญจากหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ในการสื่อสารดิจิทัล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไปเป็นวิทยากรในโครงการพัฒนานิสิตด้านการใช้เทคโนโลยี AI ในการวิจัย เรื่อง “การใช้เทคโนโลยี AI ในการทำวิจัยด้านภาษาศาสตร์” ในวันที่ 16 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 -12:00 น. ผ่านระบบออนไลน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ล่ามในการเยี่ยมคำนับและปัญหาข้อขัดข้องระหว่างปฏิบัติหน้าที่ล่าม”  

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ล่ามในการเยี่ยมคำนับและปัญหาข้อขัดข้องระหว่างปฏิบัติหน้าที่ล่าม” เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10:00 – 15:00 น.ณ ห้องประชุม 1 กรมข่าวทหาร ชั้น 3 อาคารกองบัญชาการกองทัพไทย  

Ms. Ayame Watanabe ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันการประกวดพับ-ตัด-แปะ-เล่าเรื่องภาษาญี่ปุ่น  

Ms. Ayame Watanabe อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากภาควิชาภาษาญี่ปุ่น วิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ไปเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันการประกวดพับ-ตัด-แปะ-เล่าเรื่องภาษาญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08:30 – 16:00 น. ณ ห้องประชุม 1-301 ชั้น 3 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต