คณะอักษรศาสตร์ต้อนรับข้าราชการครู และนักเรียนของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556  รองคณบดีฝ่ายวิชาการ (รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ) กล่าวต้อนรับข้าราชการครู และนักเรียนของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล ที่ขอเข้าเยี่ยมชมคณะและเข้ารับฟังคำบรรยายเกี่ยวกับการศึกษาต่อและการจัดการหลักสูตรของคณะ ทั้งนี้ รองประธานหลักสูตร BALAC (อาจารย์ ดร.ตรีพล เกิดนาค) ได้ร่วมบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร BALAC เพื่อให้นักเรียนได้มีข้อมูลความรู้และแนวคิดในการเลือกสาขาวิชาและคณะที่จะเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา ณ ห้อง 301 อาคารมหาจักรีสิรินธร

คณะอักษรศาสตร์เข้าร่วมงานแนะแนวการศึกษาต่อ ในหัวข้อ “ACSP Educational Fair 4th” ณ โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 นำโดยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ (นางสาววราพร พวงจันทร์หอม) เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ และเจ้าหน้าที่หลักสูตร BALAC เข้าร่วมงานแนะแนวการศึกษาต่อ ปีการศึกษา 2566 หัวข้อ “ACSP Educational Fair 4th” ณ Saint Louis Arena โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ

ต้อนรับคณาจารย์จาก Vocational College, Universitas Gadjah Mada (UGM) ประเทศอินโดนีเซีย

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.รักสงบ วิจิตรโสภณ หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพยา จินตโกวิท หัวหน้าภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นูรีดา อิบนิสุลัยมาน หัวหน้าสาขาวิชาภาษามาเลย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภรณี สิงห์เปลี่ยม รองผู้อำนวยการหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม (BALAC) ร่วมต้อนรับคณาจารย์จาก Vocational College, Universitas Gadjah Mada (UGM) ประเทศอินโดนีเซีย นำโดย ดร. Fatmawati Djafri เลขานุการ Department of Languages, Arts, and Culture Management Universitas Gadjah Mada ได้ลงนาม […]

สมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ฯ จัดงาน Arts CU Market 2023

สมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ฯ จัดงาน Arts CU Market 2023 เมื่อวันที่ 7 – 10 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 -17.00 น. ณ โถงอาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ โดยภายในงานมีร้านค้าและสินค้าจากศิษย์เก่ามากมาย รวมถึงสินค้าจากมูลนิธิมหาจักรีสิรินธร และการแสดงจากนิสิตปัจจุบัน

ต้อนรับคณาจารย์จาก Universitas Brawijaya ประเทศอินโดนีเซีย

เมื่อวันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9.00 – 11.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ อาจารย์ ดร. มธุริน ลีละเศรษฐกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวดี สายสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาภาษาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ และ อาจารย์ ดร.วณิชชา กาญจโนภาศ หัวหน้าสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.นาถพร กาญจภิญโญวงศ์ ร่วมต้อนรับคณาจารย์จาก Universitas Brawijaya ประเทศอินโดนีเซีย ในโอกาสนี้ทั้งสองหน่วยงานได้นำเสนอหลักสูตรต่างๆ ในภาควิชาฯ และสาขาวิชาฯ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันถึงความเป็นไปได้ในการทำวิจัยร่วมกัน การเชิญเป็นวิทยากร ตลอดจนการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนิสิต

ขอเชิญฟังการเสวนาวิชาการเนื่องในวันกรมพระปรมานุชิตชิโนรส พุทธศักราช ๒๕๖๖

ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ขอเชิญฟังการเสวนาวิชาการเนื่องในวันกรมพระปรมานุชิตชิโนรส พุทธศักราช ๒๕๖๖ “วงวรรณคดีไทยสมัยรัชกาลที่ ๓ สู่เรื่องราวในละครบุษบาลุยไฟ” วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ณ ศาลาพงศาชำนาญกิจ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วิทยากร อ.บุญเตือน ศรีวรพจน์ | ลักษณะเด่นของวรรณคดีไทยสมัยรัชกาลที่ ๓ รศ. ดร.ธานีรัตน์ จัตุทะศรี | วรรณคดีการละครสมัยรัชกาลที่ ๓ คุณทิพย์ธิดา ศรัทธาทิพย์ (ปราณประมูล) | กวีและวงวรรณคดีไทยสมัยรัชกาลที่ ๓ ในละครบุษบาลุยไฟ ไม่เสียค่าลงทะเบียน พร้อมรับหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานวันกรมพระปรมานุชิตชิโนรสจากวัดพระเชตุพน ถ่ายทอดสด LIVE ทาง เพจ วัดโพธิ์ ท่าเตียน WAT PHO เพจ งานวันกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เพจ เอกภาษาไทย อักษรฯ จุฬาฯ

กิจกรรมการสนทนาและสัมภาษณ์คุณ Elia Barceló นักเขียนชาวสเปน

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 สาขาวิชาภาษาสเปนและภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ จัดกิจกรรมการสนทนาและสัมภาษณ์คุณ Elia Barceló นักเขียนสเปนที่มีผลงานวรรณกรรมจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นไซไฟ อาชญนิยาย หรือวรรณกรรมเยาวชน อาทิ The Goldsmith’s Secret, Heart of Tango, Natural Consequences นอกจากนี้ เธอยังเคยได้รับรางวัลด้านวรรณกรรมมากมาย และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสามนักเขียนหญิงแนวไซไฟที่สำคัญที่สุดของวรรณกรรมภาษาสเปนอีกด้วย การสัมภาษณ์ครั้งนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงเรื่องของวรรณกรรมสเปน แต่พูดถึงประเด็นที่หลากหลาย ตั้งแต่ความสำคัญของงานวรรณกรรมต่อโลกยุคปัจจุบัน กระบวนการสร้างสรรค์งานวรรณกรรม ภัยและประโยชน์ของ AI ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้จึงได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักเขียนแบบใกล้ชิดในบรรยากาศแบบเป็นกันเอง งานนี้จัดขึ้นที่ศูนย์กิจกรรมวัฒนธรรมจีน สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณชั้น 15 อาคารบรมราชกุมารี เวลา 13.00 – 14.00 น.

คุณสุภา สิริสิงห “โบตั๋น” อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 30 ได้รับการยกย่องเป็น “นักเขียนอมตะ” ประจำปี 2566

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่คุณสุภา สิริสิงห “โบตั๋น” อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 30 ได้รับการยกย่องเป็น “นักเขียนอมตะ” ประจำปี 2566 จากมูลนิธิอมตะ (AMATA FOUNDATION)

ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ศิษย์เก่าได้รับการประกาศเกียรติคุณและได้รับรางวัลนราธิป ประจำปี 2566

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ศิษย์เก่าได้รับการประกาศเกียรติคุณและได้รับรางวัลนราธิป ประจำปี 2566 จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ได้แก่

เล่น ลวง รัก : การระรานทางไซเบอร์และการเติบโตทางความคิดของตัวละครในวรรณกรรมเยาวชนอเมริกันร่วมสมัย

เนื่องจากทาง UNESCO ได้ประกาศให้วันพฤหัสบดีแรกของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านความรุนแรงและการกลั่นแกล้งในโรงเรียน โดยรวมถึงการกลั่นแกล้งหรือการระรานทางไซเบอร์ คณะอักษรศาสตร์จึงขอประชาสัมพันธ์งานวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ศรีวรกานต์ จากภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องดังกล่าวในโอกาสนี้ ใน เล่น ลวง รัก : การระรานทางไซเบอร์และการเติบโตทางความคิดของตัวละครในวรรณกรรมเยาวชนอเมริกันร่วมสมัย ผู้วิจัยเลือกศึกษาวรรณกรรมเยาวชนที่มีประเด็นเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งในหมู่เด็กนักเรียน ตัวบทคัดสรรแสดงให้เห็นว่าสื่อสังคมเป็นช่องทางที่เหล่าเยาวชนใช้เป็นพื้นที่ในการสร้างห้องสนทนาออนไลน์เฉพาะกลุ่ม หรือการสร้างเกมมาเล่นกัน หากการเล่นและการล้อเล่นนั้นสร้างความสนุกสนานให้กับทุกคนก็จะไม่เกิดปัญหา แต่ในกรณีที่การเล่นและการล้อเล่นในโลกออนไลน์สร้างความสุขให้กับคนกลุ่มหนึ่งแต่กลับก่อความทุกข์ให้กับใครบางคน นั่นนับว่าเข้าข่ายการก่อเหตุรังแกผู้อื่น ขณะเดียวกัน เยาวชนบางคนมักจะอ้างว่าทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทว่าพวกเขามักจะมองข้ามการเคารพสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น การเล่นและการล้อเล่นจะยังคงมอบความรื่นรมย์ให้กับทุกคนตราบใดที่เยาวชนมีความเคารพให้แก่กัน การล้อเล่นนั้นจะไม่กลายเป็นการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ​ตัวบทคัดสรรยังเผยให้เห็นภัยจากการหลอกลวงในโลกออนไลน์ที่มีผลกระทบทั้งกับเหยื่อและผู้ก่อเหตุ ผู้ก่อเหตุล่อลวงให้เหยื่อตกลงไปในเขาวงกตจนเหยื่ออาจจะไม่สามารถหาทางออกมาได้ แต่ในทางกลับกัน ผู้ก่อเหตุเองก็อาจจะตกเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้งซึ่งเป็นผลจากการกระทำของตน เองในวังวนของการใช้ความรุนแรงเป็นทอดๆ ต่อกันไปโดยไม่รู้จบ ทั้งนี้ ผู้ประพันธ์ให้ทางออกกับปัญหาดังกล่าว คือ การมอบความรัก ความปรารถนาดี และความจริงใจให้กับเพื่อนในสังคมออนไลน์และสังคมจริง ความรักรูปแบบนี้ถึงแม้จะเป็นความรักในอุดมคติ แต่หากเราทำได้ ความรักที่ไม่เป็นพิษเช่นนี้จะช่วยยับยั้งการเกิดเหตุระรานทางไซเบอร์ได้ ​ ​ทั้งนี้ ประเด็นเกี่ยวกับการได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อนเป็นเรื่องที่เยาวชนให้ความสำคัญ ทว่าการมีเพื่อนสามารถก่อให้เกิดปัญหากับเยาวชนได้เช่นกัน บางครั้งเยาวชนส่วนหนึ่งแสวงหาการยอมรับจากเพื่อนจนขาดความเคารพตนเอง ในที่นี้ผู้ประพันธ์ชี้ให้เห็นว่าประเด็นสำคัญที่เยาวชนหลายคนมักจะมองข้าม นั่นคือ การรู้จักหรือการเข้าใจตนเอง โดยเฉพาะมิติด้านอารมณ์ ความรู้สึก และการให้เวลากับตนเองซึ่งจะช่วยให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง เพื่อไม่ต้องวิ่งตามเพื่อนจนนำพาตนเองไปอยู่ผิดที่ผิดทาง ขณะเดียวกัน […]

ขอเชิญรับชมการเสวนาย้อนหลังในหัวข้อ HALLOWEEN SPECIAL SEMINAR ไสยศาสตร์ในวิถีเมือง : บทสนทนาว่าด้วยความเคลือบแคลง ความย้อนแย้ง และการแสวงหา

เมื่อวันอังคารที่ 31 เดือนตุลาคม 2566 เวลา 13.00-14.30 น. ฝ่ายวิจัย คณะอักษรศาสตร์ ได้จัดการเสวนา HALLOWEEN SPECIAL SEMINAR ไสยศาสตร์ในวิถีเมือง : บทสนทนาว่าด้วยความเคลือบแคลง ความย้อนแย้ง และการแสวงหา โดยมีวิทยากรคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกษม เพ็ญภินันท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้อง 304 อาคารมหาจักรีสิรินธร ท่านสามารถรับชมการเสวนาย้อนหลังได้ที่นี่