รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไทยกับปัญญาประดิษฐ์และความฉลาดทางดิจิทัล”

รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไทยกับปัญญาประดิษฐ์และความฉลาดทางดิจิทัล” ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ในวันที่ 4 มิถุนายน 2567 เวลา 08:30 – 17:00 น. ผ่านระบบออนไลน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร บุญรุ่ง ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมเพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมเพื่อผลิตผู้สอนภาษาเกาหลีชาวไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร บุญรุ่ง อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากศูนย์การศึกษาเกาหลี ประจำประเทศไทย (KEC) ไปเข้าร่วมประชุมเพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมเพื่อผลิตผู้สอนภาษาเกาหลีชาวไทย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13:00 – 14:00 น. ผ่านระบบออนไลน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษบรรยายเรื่อง “การนำทฤษฎีสัทศาสตร์มาประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์และรวมถึงงานวิจัย”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไปเป็นอาจารย์พิเศษบรรยายเรื่อง “การนำทฤษฎีสัทศาสตร์มาประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์และรวมถึงงานวิจัย” ในวันที่ 3 มีนาคม 2567 เวลา 13:00 – 16:50 น.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการตัดสินรอบชิงชนะเลิศงาน SIFE Social Enterprise Case Competition (SECC)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากฝ่ายกิจการนิสิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ไปเป็นกรรมการตัดสินรอบชิงชนะเลิศงาน SIFE Social Enterprise Case Competition (SECC) การแข่งขันการแก้ปัญหาเชิงธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือชุมชน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12:00 – 17:30 น. ณ โรงละครเภตราลัย (Black Box) ชั้น 14 อาคารมหิตลาธิเบศร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการจัดการข้อมูล การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะอนุกรรมการจัดการข้อมูล การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล ไปเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการจัดการข้อมูล การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10:30 น. ณ ห้องประชุม 504 ชั้น 5 อาคารรัฐสภา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการคลังสารสนเทศรัฐสภา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะกรรมการการดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการคลังสารสนเทศรัฐสภาของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ไปเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการคลังสารสนเทศรัฐสภา ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:30 น.ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA 309 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา
ขอแสดงความยินดีแก่นิสิตที่ได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานทางวิชาการที่งานประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศแห่งประเทศไทย (TSG)

ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีแก่นิสิตที่ได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานทางวิชาการที่งานประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศแห่งประเทศไทย (TSG) ครั้งที่ 16 ซึ่งจัดขึ้นโดยภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2567 โดยได้รางวัลรวมทั้งสิ้น 7 รางวัล จาก 7 ผลงานที่ได้นำเสนอ ดังนี้ ——————————————— การนำเสนอแบบปากเปล่า (Oral presentation) 1.รางวัลคะแนนรวมสูงสุด (Overall best) และรางวัลยอดนิยม (Popular vote) กลุ่มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบ และ การปรับตัว การวิเคราะห์ลักษณะฝนจากพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยในแต่ละช่วงของสภาวะเอนโซ โดย นายเธียรชัย ทองเงิน และนางสาวปพิชญา พลนิ่ม (อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.เอกกมล วรรณเมธี) 2. รางวัลความคิดริเริ่มดีเด่น (Best originality) กลุ่มนวัตกรรมภูมิสารสนเทศ การศึกษาเปรียบเทียบการประเมินค่าความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนในประเทศไทยจากปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาและความลึกเชิงแสงของอนุภาคแขวนลอยในอากาศด้วยสมการถดถอยพหุคูณและการเรียนรู้ของเครื่อง โดย นางสาวจิราภา หมื่นฤทธิ์ และ […]
ขอเชิญรับฟังการบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ฝุ่น PM2.5 และผลกระทบที่ซ่อนอยู่”

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญรับฟังการบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ฝุ่น PM2.5 และผลกระทบที่ซ่อนอยู่” ร่วมเสวนาโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ และ อาจารย์มัลลิกา สุกิจปาณีนิจ เป็นวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกกมล วรรณเมธี เป็นพิธีกร สังกัดภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ————————————————————————– วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 13.30-15.00 น. ณ ห้อง 304 ชั้น 3 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจสามารถรับชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่นี่
มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยได้มอบทุนการศึกษาประจำปี 2566 แก่นิสิตอักษรศาสตร์เอกภาษาญี่ปุ่น

เมื่อวันพุธที่ 21 ก.พ. 2567 มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยได้มอบทุนการศึกษาประจำปี 2566 ให้แก่นิสิตจุฬาฯ 12 คน โดยมี ศ. ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี ผศ.ดร. ชัยพร ภู่ประเสิรฐ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต และ ผศ.ดร.สุกิจ พู่พวง ผู้ช่วยคณบดีคณะอักษรศาสตร์ เข้าร่วมพิธีและแสดงความยินดีกับนิสิตด้วย นิสิตอักษรศาสตร์เอกภาษาญุี่ปุ่นได้รับทุน 2 คนคือ น.ส. พิมพ์ชนก บุญเนรมิตร (ชั้นปีที่ 4) และ น.ส. พัชราวดี โพธา (ชั้นปีที่ 2) ในการนี้ น.ส. พิมพ์ชนก บุญเนรมิตร ได้เป็นตัวแทนนิสิตจุฬาฯกล่าวคำขอบคุณมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยเป็นภาษาญี่ปุ่นด้วย
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กุสุมา รักษมณี ได้รับรางวัลหนังสือสารคดีด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และชีวประวัติ จากการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2567

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กุสุมา รักษมณี อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 30 ได้รับรางวัลหนังสือสารคดีด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และชีวประวัติ จากการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี 2567 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (สพฐ.) จากหนังสือ “กุหลาบเปอร์เซียในแดนสยาม” โดยจะเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 ในวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม นี้
การบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ความรู้เพื่อชุมชน: โครงการบันทึกภาษาและวัฒนธรรมมอแกลน”

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญรับฟังการบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ความรู้เพื่อชุมชน: โครงการบันทึกภาษาและวัฒนธรรมมอแกลน” ร่วมเสวนาโดย รองศาสตราจารย์ ดร. พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ ภาควิชาภาษาศาสตร์ และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นยา สุจฉายา ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิคม แสงไชย หน่วยปฏิบัติการวิจัย The Arc of Memory โครงการคลังข้อมูลของแผ่นดินสยาม ยุครัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ————————————————————————- เนื้อหาการบรรยาย โครงการบันทึกภาษาและวัฒนธรรมมอแกลน เป็นตัวอย่างของการวิจัยแบบบูรณาการที่มุ่งสร้างองค์ความรู้เพื่อชุมชน ชาวมอแกลนเป็นหนึ่งในสามกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลบริเวณชายฝั่งอันดามันของประเทศไทยที่มีภาษาและวัฒนธรรมเฉพาะ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการผสมกลมกลืนและแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับกลุ่มชนรอบด้านอยู่เสมอ โครงการบันทึกภาษาและวัฒนธรรมมอแกลนจึงบูรณาการการวิจัยด้านภาษาศาสตร์และคติชนวิทยากับการสร้างคลังข้อมูลทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เพื่อสื่อสารเรื่องราวของชาวมอแกลนสู่สาธารณะ โครงการนี้จึงเป็นตัวอย่างของงานวิจัยที่มุ่งประโยชน์เชิงวิชาการคู่กับประโยชน์ต่อชุมชน รับชมย้อนหลังได้ที่นี่
Call for papers: “Asian TV Dramas and the Popular Mind in Southeast Asia”

The College of Liberal Arts, De La Salle University, in collaboration with the Faculty of Arts, Chulalongkorn University, is hosting a conference-workshop entitled “Asian TV Dramas and the Popular Mind in Southeast Asia” (hybrid event) on May 20-22, 2024 at De La Salle University, Manila, Philippines. The twenty-first century has witnessed the phenomenal development of […]
งานเทศกาลออกร้านหนังสือ ครั้งที่ 13 อ่านสร้างสุข (13th Arts Chula Book Fest : Reading fo Happiness)

เมื่อวันที่ 19 – 23 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 9.00 – 17.00 น. ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จัดงานเทศกาลออกร้านหนังสือ ครั้งที่ 13 อ่านสร้างสุข (13th Arts Chula Book Fest : Reading fo Happiness) บริเวณโถงใต้ตึกอาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ ผู้สนใจสามารถเลือกซื้อหนังสือราคาพิเศษจากร้านค้าชั้นนำมากมาย เช่น ร้านหนังสือยิปซี ร้านหนังสือเก่าสวนอักษร ร้านนายอินทร์ สำนักพิมพ์บันลือบุ๊คส์ อีกทั้งมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น กิจกรรมชวนอ่าน จากนักอ่านนิสิตคณะอักษรศาสตร์กับหนังสือเล่มโปรด กิจกรรม DIY “ฮีลใจคลายเครียด” รวมถึงร่วมชิม ช็อป อาหารและสินค้าต่าง ๆ
ประชาคมอักษรศาสตร์ มอบเงินและสิ่งของบริจาค ณ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต (ผศ.ดังกมล ณ ป้อมเพชร) ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ กรรมการกิจการนิสิต และนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ได้เป็นตัวแทนประชาคมอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ไปมอบเงินและสิ่งของบริจาค พร้อมทั้งเยี่ยมชมการดำเนินงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และให้กำลังใจทั้งเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการของสถานสงเคราะห์ รวมกับผู้แทนจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะเศรษฐศาสตร์ อันเป็นกิจกรรมในโครงการห้าสายธารแห่งความดี เราทำดีด้วยหัวใจ ของสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรีเป็นสถานที่ที่ให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งหญิงตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป ทั้งเรื่องปัจจัยสี่ อาหาร ที่พัก เครื่องใช้ที่จำเป็น การรักษาพยาบาลโดยเจ้าหน้าที่พยาบาล แพทย์ทางจิตเวชและผิวหนัง จัดทำทะเบียนประวัติ ติดต่อญาติ ให้คำปรึกษาแนะนำแก้ไขปัญหา ฟื้นฟูสภาพจิตใจ จัดทำกิจกรรมบำบัดผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น งานหัตถกรรม ตัดเย็บ เสริมสวย และการเกษตรเพื่อให้ผู้สูงอายุมีกำลังใจและสามารถช่วยเหลือบุคคลอื่นได้ด้วย จำนวนผู้ที่อยู่ในความดูแลมีจำนวนทั้งสิ้น 438 คนต่อความดูแลของเจ้าหน้าที่ 38 คน งานกิจการนิสิต คณะอักษรศาสตร์ ขอขอบพระคุณผู้บริจาคทุกท่านมา ณ ที่นี้
ฝ่ายวิรัชกิจร่วมกับมูลนิธิ Khyentse จัดพิธีมอบทุนการศึกษามูลนิธิ Khyentse ประจำปีการศึกษา 2566

วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ฝ่ายวิรัชกิจ คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิ Khyentse จัดพิธีมอบทุนการศึกษามูลนิธิ Khyentse ประจำปีการศึกษา 2566 วัตถุประสงค์ของทุนดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการศึกษาพุทธศาสน์ศึกษาในประเทศไทยในระดับนานาชาติ โดยมอบให้แก่นิสิตที่ศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาและมีผลการเรียนดี จำนวน 3 ท่าน คือ 1. พระมหาสราวุธ โพธิ์ศรีขาม หัวข้อวิทยานิพนธ์ “พุทธธรรมในนิตยสารธรรมจักษุในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นบรรณาธิการ พ.ศ. ๒๔๓๗-๒๔๕๔: ความเป็นมา สารัตถะ และบทบาทต่อพุทธศาสนาไทย” จากหลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลี-สันสกฤตและพุทธศาสน์ศึกษา 2. นายอิ้ปิน หลิง (Mr. Yibin Ling) หัวข้อวิทยานิพนธ์ “การส่งเสริมการปฏิบัติโพธิสัตวมหายานธรรมผ่านพระกษิติครรภ์มหาโพธิสัตว์ในมูลนิธิพุทธจักษุวิชาลัย อารามวัตรมหายาน (วัดกษิติครรภ์) จังหวัดนครปฐม” จากหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) 3. นายเจ้า แก่นสาร ทุ่งกว้าง (Mr. Chow Kensan Tunkhang) หัวข้อวิทยานิพนธ์ […]