ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของคุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 16 อักษรศาสตร์ดีเด่น 2538

และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช 2555 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของคุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 16 อักษรศาสตร์ดีเด่น 2538 และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช 2555

การเสวนาและบรรยาย เรื่อง “ศกุนตลา : วรรณคดีภารตะในบริบทวรรณกรรมโลก“ ณ อาคารมหาจักรีสิรินธร

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 9.30 – 12.00 น. กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนาวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการเสวนาและบรรยาย เรื่อง “ศกุนตลา : วรรณคดีภารตะในบริบทวรรณกรรมโลก“ ณ ห้อง 304 ชั้น 3 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์

คณบดีคณะอักษรศาสตร์ นำคณะผู้บริหารคณะอักษรศาสตร์ เฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

เมื่อวันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำคณะผู้บริหารคณะอักษรศาสตร์ เฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2570

การแสดงละครเวทีเฉลิมพระเกียรติเรื่อง “แต่บแตบตะแล้บแตบแตบ” จากพระราชนิพนธ์นิทาน ระหว่างวันที่ 5 – 8 มิถุนายน 2567

ในโอกาสที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 69 พรรษาในวันที่ 2 เมษายน 2567 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ฯ จัดการแสดงละครเวทีเฉลิมพระเกียรติเรื่อง “แต่บแตบตะแล้บแตบแตบ” จากพระราชนิพนธ์นิทาน ระหว่างวันที่ 5 – 8 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล ชั้น 6 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ ในการนี้ คณะอักษรศาสตร์ ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตเชิญพระราชนิพนธ์นิทาน 7 เรื่อง คือ เพลงดูควาย นิทานเรื่องเกาะ หลวงจีนสามรูป ศิลปินวาดไก่ ตาดีมือแป นิทานทาจิกีสถานเรื่อง นกคาฮา และนักดนตรีเถื่อน มาจัดแสดง โดยมีศาสตราจารย์พรรัตน์ ดำรุง เป็นผู้สร้างบทและกำกับการแสดง อาจารย์สินนภา สารสาส ประพันธ์และกำกับดนตรี บุญพงษ์ พานิช ร่วมสร้างสรรค์และกำกับการแสดง […]

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ประกาศรับสมัครอาจารย์ จำนวน 1 อัตรา

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ประกาศรับสมัครอาจารย์ จำนวน 1 อัตรา คุณวุฒิปริญญาเอก​ เน้นงานสอนและวิจัยแบบสหสาขาวิชาทางด้านใดด้านหนึ่งต่อไปนี้​ (และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง)​ – การพัฒนาและ/หรือประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ​ (รวมถึงปัญญาประดิษฐ์)​ ในงานด้านมนุษยศาสตร์​หรือการจัดการวัฒนธรรม – การจัดการข้อมูลและสารสนเทศทางวัฒนธรรม – มนุษยศาสตร์ดิจิทัล​ – วิทยาการข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม – การดูแลรักษาและการสงวนรักษาดิจิทัล​ (Digital​ curation​ and preservation) รายละเอียดและช่องทางการสมัครดูได้ที่นี่

ขอแสดงความยินดีแก่นางสาวสันต์สินี เจนนันทขจร นิสิตวิชาเอกภาษาเกาหลี ชั้นปีที่ 4 ที่ได้รับทุนในโครงการ Asian University Network Scholarship Program (AUNS) ประจำปี 2024

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีแก่นางสาวสันต์สินี เจนนันทขจร นิสิตวิชาเอกภาษาเกาหลี ชั้นปีที่ 4 ในโอกาสที่ได้รับทุนสนับสนุนเต็มจำนวน ระยะเวลา 1 ปี ในโครงการ Asian University Network Scholarship Program (AUNS) ประจำปี 2024 ไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University)

ขอเชิญรับฟังการบรรยายอาศรมวิจัย เรื่อง “แนวทางและความคาดหวังต่อการวิจัย ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญรับฟังการบรรยายอาศรมวิจัย เรื่อง “แนวทางและความคาดหวังต่อการวิจัย ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ————————————————————————– วันพุธที่ 12 มิถุนายน 2567 เวลา 10.30-12.00 น. ณ ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล ชั้นลอย อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนฟรีด้วยการสแกน QR code หรือ เข้าไปยังลิงก์ด้านล่าง หรือสามารถรับชมผ่าน Facebook live บนเพจเฟซบุ๊คคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันและเวลาดังกล่าว https://forms.gle/MUN5pJuQbEZi1nWi8

คณาจารย์ภาควิชาภาษาตะวันตก สาขาวิชาภาษารัสเซียได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาตราจารย์

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ได้รับการอนุมัติจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 887 วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 1. อาจารย์ ดร.ชนันพร เหมสกุล (ภาควิชาภาษาตะวันตก สาขาวิชาภาษารัสเซีย) 2. อาจารย์ ดร.อังสนา เรืองดำ (ภาควิชาภาษาตะวันตก สาขาวิชาภาษารัสเซีย)

อภิปรัชญาร่วมสมัย : ปัญหาชวนคิด โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิษฐ์ ศิริจันทร์

หนังสือใหม่ของโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง อภิปรัชญาร่วมสมัย : ปัญหาชวนคิด โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิษฐ์ ศิริจันทร์ สั่งซื้อออนไลน์ลดราคา 10% จาก 240.00 บาท เหลือ 216.00 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่ลิงก์ด้านล่าง http://artschulabooks.lnwshop.com/p/225 หรือติดต่อซื้อหนังสือที่ห้องโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ลดราคา 15% จาก 240.00 บาท เหลือ 204.00 บาท ห้องโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ อาคารมหาวชิราวุธ ห้อง 112 เปิดบริการตั้งแต่ 09.00 น. – 16.30 น. (มีพักเที่ยง 12.00 น. – 13.00 น.) หยุดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ หมายเหตุ 1.โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการไม่มีบริการคืนเงินหลังจากได้รับสินค้า 2. หากต้องการใบเสร็จรับเงิน กรุณาแจ้งตอนสั่งซื้อ 3. […]

การหารือความร่วมมือเกี่ยวกับการสอนวิชาภาษาไทยในมหาวิทยาลัย Adam Mickiewicz ประเทศโปแลนด์ โดย

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2567 คณะอักษรศาสตร์ได้ต้อนรับคุณอุรษา มงคลนาวิน เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศโปแลนด์ และคุณดุลนิติ์ พันธ์เกษมสุข เลขานุการเอก ในการหารือความร่วมมือเกี่ยวกับการสอนวิชาภาษาไทยในมหาวิทยาลัย Adam Mickiewicz ในประเทศโปแลนด์ โดยในอนาคตอาจมีแผนการร่วมกันในการสรรหาอาจารย์ผู้สอนและการส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษาต่อไป การนี้ ผศ.ดร.เกียรติ เทพช่วยสุข ผู้อำนวยการศูนย์ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ร่วมต้อนรับ

เชิญรับฟังการบรรยายเรื่อง “ภาพถ่ายบนไปรษณียบัตรกับการขับเน้นความไม่สมมาตรระหว่างสองวัฒนธรรม: กรณีศึกษาในบันทึกการเดินทางของนักเขียนอิตาเลียน ซัลวาตอเร เบสโซ” โดย อาจารย์ ดร.ภณิตา ศิลปวิทยาดิลก

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญรับฟังการบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ภาพถ่ายบนไปรษณียบัตรกับการขับเน้นความไม่สมมาตรระหว่างสองวัฒนธรรม: กรณีศึกษาในบันทึกการเดินทางของนักเขียนอิตาเลียน ซัลวาตอเร เบสโซ” โดย อาจารย์ ดร.ภณิตา ศิลปวิทยาดิลก สาขาวิชาภาษาอิตาเลียน ภาควิชาภาษาตะวันตก รับชมย้อนหลังที่นี่ บ่อยครั้งภาพถ่ายไปรษณียบัตรคือของฝากจากการเดินทางที่ “ให้ภาพ” เกี่ยวกับสถานที่ที่ไปมา เป็นของฝากที่บอกถึง “จุดขาย” ของสถานที่นั้นๆ เมื่อภาพถ่ายเหล่านั้นถูกนำมาเป็นภาพประกอบ (illustration) เรื่องเล่าตัวหนังสือ เรื่องเล่าการเดินทางนั้นๆ มีแนวโน้มถูกปรับโทนให้สอดคล้องกับจินตนาการเหมารวมมากขึ้น ในการบรรยายนี้ เรามาดูกรณีศึกษาจากบันทึกการเดินทางของ ซัลวาตอเร เบสโซ (Salvatore Besso ค.ศ. 1884-1912) ผู้สื่อข่าวชาวอิตาเลียนที่เดินทางมาสยามในปี ค.ศ. 1911 เพื่อทำข่าวงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังการเดินทางมาสยาม ไปรษณียบัตรที่เบสโซส่งให้ครอบครัวที่อิตาลีถูกรวบรวมเป็นหนังสือ อยู่ร่วมกับจดหมายส่วนตัวและบทความหนังสือพิมพ์ของเขา ในการบรรยายนี้ เรามาดูกันว่าไปรษณียบัตรเข้ามามีบทบาทโน้มน้าวผู้อ่านบันทึกการเดินทางของเบสโซ ให้ตรึงภาพสยามในมโนภาพความแปลกต่าง (exotism) อย่างไรบ้าง คำสำคัญ:ภาพถ่าย (photography)ไปรษณียบัตร (postcard)บันทึกการเดินทาง (travel writing)สหสื่อ (intermediality)เรื่องเล่าตัวหนังสือพร้อมภาพถ่าย (phototext)

นิสิตสาขาวิชาภาษาสเปนเข้าร่วมการอบรมภาษาและวัฒนธรรมสเปนที่วิทยาเขตเมลิยา (Melilla) มหาวิทยาลัยกรานาดา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับมหาวิทยาลัยกรานาด้า (University of Granada) ราชอาณาจักรสเปน ตั้งแต่ปี 2019 และมีความสัมพันธ์ที่ดีในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการเเลกเปลี่ยนนิสิต อาจารย์ นักวิจัย รวมถึงการอบรมเจ้าหน้าที่ และระหว่างวันที่ 18 – 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา นิสิตสาขาวิชาภาษาสเปนมีโอกาสเข้าร่วมการอบรมภาษาและวัฒนธรรมสเปนที่วิทยาเขตเมลิยา (Melilla) มหาวิทยาลัยกรานาดาเป็นครั้งแรก โดยคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยและรัฐบาลเมืองเมลิยาให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น

รองศาสตราจารย์ ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ ได้รับเชิญให้ไปปฏิบัติงานต่างประเทศในโครงการศึกษาดูงานและฝึกงานต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้ เมืองโจวจวง และเมืองจูเจียเจี่ยว สาธารณรัฐประชาชนจีน  

รองศาสตราจารย์ ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปการละคร ได้รับเชิญจากบัณฑิตวิทยาลัยให้ไปปฏิบัติงานต่างประเทศในโครงการศึกษาดูงานและฝึกงานต่างประเทศ ในระหว่างวันที่ 1 – 6 มิถุนายน 2567 ณ นครเซี่ยงไฮ้ เมืองโจวจวง และเมืองจูเจียเจี่ยว สาธารณรัฐประชาชนจีน  

รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อเรื่อง “บทบาทของ ChatGPT ต่อการเรียนการสอนและงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์” 

รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับเชิญจากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อเรื่อง “บทบาทของ ChatGPT ต่อการเรียนการสอนและงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์” ในวันที่ 19 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 – 11:00 น. ณ ห้องอเนกประสงค์ อาคารแถบ นีละนิธิ