รายการวิทยุ “อักษรพาที” ประจำเดือนธันวาคม 2566
รายการวิทยุ “อักษรพาที” ประจำเดือนธันวาคม 2566 ออกอากาศที่สถานีวิทยุ FM 101.5 ทุกวันเสาร์ เวลา 08.05 – 08.30 น…
รศ.ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ได้รับทุนนักวิชาการวิจัยอาคันตุกะจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ จากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับทุนนักวิชาการวิจัยอาคันตุกะจากศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Center for Southeast Asian Studies – CSEAS) มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติในการจัดหาและการอธิบายทรัพยากรสารสนเทศของไทยในหน่วยงานทางวัฒนธรรม เช่น ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์ ในประเทศญี่ปุ่น ทุนวิจัยในครั้งนี้เป้นหนึ่งในชุดการวิจัยที่ ดร.ทรงพันธ์ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในการสำรวจมุมมอง Insider/Outsider ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรสารสนเทศของไทย ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านไทยศึกษาในระดับนานาชาติ ผลการวิจัยก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นความท้าทายสำคัญของหน่วยงานทางวัฒนธรรมของไทยในการประยุกต์ใช้มาตรฐานที่พัฒนามาจากวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรที่มีอยู่ไม่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับแหล่งข้อมูลในระดับนานาชาติได้ ช่องว่างดังกล่าวมีผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ในทางวิชาการในระดับสากล การศึกษาในครั้งนี้จะเป็นการสำรวจในบริบทและมุมมองที่แตกต่างออกไป กล่าวคือเป็นการสำรวจแนวปฏิบัติที่มาจากสังคมและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรสารสนเทศในระดับสากลที่ไม่ใช่ประเภทตะวันตก โครงการทุนนักวิชาการวิจัยอาคันตุกะของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเกียวโต ก่อตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1975 มีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกได้รับทุนจากโครงการดังกล่าวมากกว่า 400 คน โครงการนี้สนับสนุนงานวิจัยที่น่าสนใจและมีความเป็นสหสาขาวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเชิงเปรียบเทียบและเชิงประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ในบริบทที่กว้างออกไปอีกด้วย ดร.ทรงพันธ์ เดินทางไปรับทุนและดำเนินการวิจัยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความพยายามของคณะอักษรศาสตร์ในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยในระดับนานาชาติ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการบูรณาการการวิจัยในรูปแบบสหวิทยาการทั้งทางด้านบรรณารักษศาสตร์ สังคมวิทยา พื้นที่ศึกษา […]
รองศาสตราจารย์ ดร.วริตตา ศรีรัตนา ได้รับทุนนักวิจัยระยะเวลา 6 เดือน ไปประจำการ ณ ศูนย์การศึกษาด้านวันสิ้นโลกและโลกหลังมหาวินาศ “เคเทอ ฮัมบูร์เกอร์” ณ มหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
รองศาสตราจารย์ ดร.วริตตา ศรีรัตนา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ ได้รับทุนนักวิจัยระยะเวลา 6 เดือน ไปประจำการ ณ ศูนย์การศึกษาด้านวันสิ้นโลกและโลกหลังมหาวินาศ “เคเทอ ฮัมบูร์เกอร์” ณ มหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อดำเนินการโครงการวิจัยเรื่อง “ไม่รู้หรอกหรือว่านี่มิใช่จุดจบแห่งโลก (ปิตาธิปไตยและบรรทัดฐานรักต่างเพศ): ความกลัวเกลียดเหยียดหญิงแห่ง(โลกหลัง)มหาวินาศสิ้นโลก” ระหว่างเดือนกันยายน 2567 ถึง กุมภาพันธ์ 2568 Associate Professor Verita Sriratana, PhD, from the Department of English, has been awarded a 6-month research fellowship at the Käte Hamburger Center for Apocalyptic and Post-Apocalyptic Studies (CAPAS) at Heidelberg University, […]
คณะอักษรศาสตร์ขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ ที่ได้บริจาคเงินสมทบทุนอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ๑๐๐ ปี และเงินทุนพัฒนาวิชาการภาควิชาประวัติศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ ที่ได้บริจาคเงินสมทบทุนอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ๑๐๐ ปี และเงินทุนพัฒนาวิชาการภาควิชาประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖
หนังสือใหม่ เรื่อง “วัจนปฏิบัติศาสตร์กับความสุภาพและวัฒนธรรม: แนวคิดและแนวทางวิจัยภาษาไทย” โดย รองศาสตราจารย์ณัฐพร พานโพธิ์ทอง
หนังสือใหม่ของโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง วัจนปฏิบัติศาสตร์กับความสุภาพและวัฒนธรรม: แนวคิดและแนวทางวิจัยภาษาไทย โดย รองศาสตราจารย์ณัฐพร พานโพธิ์ทอง ลดราคา 15% จาก 240.00 บาท เหลือ 204.00 บาท ผู้สนใจสั่งซื้อหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://artschulabooks.lnwshop.com/p/219
คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีแด่นิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๖
คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งแด่นิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๖ ได้แก่ ๑. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สดชื่น ชัยประสาธน์ (อ.บ. ๓๐) ๒. นายอรุณ สัมพันธวิวัฒน์ (อ.บ. ๓๓) ๓. นางปิยะพร กัญชนะ (อ.บ. ๓๖) ๔. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. วริยา ชินวรรโณ (อ.บ. ๓๗) ๕. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ศิราพร ณ ถลาง (อ.บ. ๔๑) ๖. นางปฏิมา ตันติคมน์ (อ.บ. ๔๕) ๗. นางจุฬามณี ชาติสุวรรณ (อ.บ. ๔๗)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรวัฒน์ ธีรพจนี รองคณบดีร่วมอวยพรและมอบกระเช้าผลไม้แสดงความยินดี เนื่องในโอกาสครบรอบ 110 ปี วันคล้ายวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2566 คณะอักษรศาสตร์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรวัฒน์ ธีรพจนี รองคณบดี(รับผิดชอบงานด้านวางแผนและพัฒนา) ร่วมอวยพรและมอบกระเช้าผลไม้แสดงความยินดี เนื่องในโอกาสครบรอบ 110 ปี วันคล้ายวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นางสาวณภัทร ชาติทอง นิสิตเอกภาษาไทยได้รับ “รางวัลดีเด่น” สาขาวรรณกรรม โครงการรางวัลยุวศิลปิน 2566 (Young Thai Artist Award 2023)
ภาควิชาภาษาไทย ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ผลงานรวมเรื่องสั้นชุด #ในสวนฉัน ของนางสาวณภัทร ชาติทอง นิสิตเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 4 ในโครงการส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะนิสิตทางด้านศิลปะฯ ได้รับ “รางวัลดีเด่น” สาขาวรรณกรรม โครงการรางวัลยุวศิลปิน 2566 (Young Thai Artist Award 2023) จัดโดยมูลนิธิเอสซีจี ผู้สนใจสามารถชมนิทรรศการผลงานรางวัลยุวศิลปินทั้ง 35 ผลงาน จาก 6 สาขา ได้แก่ ศิลปะ 2 มิติ, ศิลปะ 3 มิติ, ภาพถ่าย, ภาพยนตร์, การประพันธ์ดนตรี และวรรณกรรม ซึ่งจัดแสดงที่ หอศิลป์ กทม. (BACC) ได้แล้ว วันนี้ ถึง 10 ธันวาคม 66 นอกจากนี้ ยังสามารถเข้าชมนิทรรศการออนไลน์ได้ทา https://www.youngthaiartistaward.com ผลงานจัดแสดง ณ ห้อง New Gen […]
ตุ๊กตา พวงกุญแจ และแม็กเน็ตเรซินคณะอักษรศาสตร์
ในโอกาสวันปีใหม่ 2567 คณะอักษรศาสตร์ได้จัดทำตุ๊กตา พวงกุญแจ และแม็กเน็ตเรซิน รูปแมวอักษรฯ ซุ้มทางขึ้นเทวาลัย และดอกชงโค เหมาะสำหรับเป็นของที่ระลึกมอบให้คนพิเศษหรือจะเก็บสะสมไว้เอง รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะนำไปสนับสนุนกิจการต่างๆ ของคณะและเพื่อเป็นเงินทุนดูแลสัตว์ในคณะอักษรศาสตร์ ติดต่อสั่งซื้อได้ที่สำนักคณบดี คณะอักษรศาสตร์ หรือติดต่อคุณยุพินย์ โดยแอดไลน์ yupin84879
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบรรณ์ ได้รับเชิญจากบัณฑิตวิทยาลัยไปเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาภาษาเกาหลีศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบรรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากบัณฑิตวิทยาลัย ไปเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาภาษาเกาหลีศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) โดยมีวาระ 3 ปี ตังแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2570
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร บุญรุ่ง ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการจัดทำสาระการเรียนรู้ภาษาเกาหลี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร บุญรุ่ง อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ไปเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการจัดทำสาระการเรียนรู้ภาษาเกาหลี ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 15 – 17 ธันวาคม 2566 ณ โรงแรมฮิพ กรุงเทพมหานคร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ ได้รับเชิญจากบัณฑิตวิทยาลัยไปเป็นรองผู้อำนวยการหลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับเชิญจากบัณฑิตวิทยาลัยไปเป็นรองผู้อำนวยการหลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติโดยมีวาระดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระการดำรงตำแหน่งของผู้อำนวยการหลักสูตรฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษรายวิชามุสลิมในไทย (Muslims in Thailand)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษรายวิชา 350 225 มุสลิมในไทย (Muslims in Thailand) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 เวลา 09:20 – 12:05 น. หัวข้อ “บทบาทมุสลิมสมัยอยุธยา” และในวันที่ 3 มกราคม 2567 เวลา 09:20 – 12:05 น. หัวข้อ “บทบาทมุสลิมสมัยธนบุรีถึงสมัยรัตนโกสินทร์” ผ่านระบบออนไลน์
อาจารย์ Hidehiro Kobayashi ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในกิจกรรมการจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น (Ikebana)
อาจารย์ Hidehiro Kobayashi อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากคณะสื่อสารสากล สถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น ไปเป็นวิทยากรในกิจกรรมการจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น (Ikebana) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2566 เวลา 13:00 – 14:30 น. ณ ห้อง E503 อาคาร E ชั้น 5 สถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษ รายวิชาปรัชญาตะวันตกร่วมสมัย และรายวิชาประเด็นคัดสรรเกี่ยวกับปรัชญาตะวันตก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา ได้รับเชิญจากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปเป็นอาจารย์พิเศษสอน ในรายวิชา 433 211 ปรัชญาตะวันตกร่วมสมัย ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13:55 – 16:35 น. และในรายวิชา 433 252 ประเด็นคัดสรรเกี่ยวกับปรัชญาตะวันตก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 เวลา 16:40 – 18:25 น. ณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม