ขอแสดงความยินดีและขอขอบคุณบุคลากรคณะอักษรศาสตร์ที่ได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาบุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2567

ในการแข่งขันกีฬาบุคลากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2567 นี้ คณะอักษรศาสตร์ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันใน 8 ชนิดกีฬา ได้แก่ ว่ายน้ำ วิ่ง ทุ่มน้ำหนัก แชร์บอล เทเบิลเทนนิส กรรเชียงบก วิ่งเปี้ยวกระสอบ ชักเย่อ – เหรียญทอง 2 เหรียญจากการแข่งขันว่ายน้ำ คือ ผศ. นิภาพร ตั้งต่อฤทธิ์ (ภาควิชาภาษาอังกฤษ) และ นางสาวสรรพพร เรไรวรรณ (ภาควิชาภาษาไทย)   – เหรียญเงิน 1 เหรียญจากการแข่งขันวิ่งผลัด 4 × 100 เมตร ผู้ร่วมทีมประกอบด้วย นางบุษกร ธรณี (ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์) นางสาวจรรยา ยามาลี (ภาควิชาปรัชญา) นางวรรณภา จัดสนาม  (กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนาวิชาการ) และ นางสาวทิพนิภา ชื่นสกุล (กลุ่มภารกิจงานแผนและพัฒนาองค์กร) – เหรียญทองแดง 1 เหรียญจากการแข่งขันว่ายน้ำ คือ นายฉลอง แสงสิริวิจารณ์  รายชื่อนักกีฬา คณะอักษรศาสตร์ ว่ายน้ำ ลำดับที่ ชื่อ-นามสกุล หน่วยงาน ประเภทกีฬา เหรียญรางวัล 1 […]

ประชาสัมพันธ์หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศเป็นหลักสูตรปริญญาโท สาขาภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ สำหรับชาวต่างชาติ แห่งแรกในประเทศไทย จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังจะเปิดรับนิสิตใหม่ครั้งแรก สำหรับภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2567 (มกราคม 2568) โดยมีวัตถุประสงค์ – เพื่อสร้างนักวิชาการที่มีทักษะและความสามารถสูงในการใช้ภาษาไทย มีความรู้รอบเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทยในมิติต่าง ๆ ทั้งในอดีตและในปัจจุบัน และสามารถเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านภาษาและวัฒนธรรมไทยในระดับนานาชาติได้ – เพื่อสร้างชาวต่างชาติที่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้อย่างเชี่ยวชาญ เข้าใจความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย และสามารถประกอบอาชีพที่ต้องใช้ทักษะภาษาไทยขั้นสูงได้ หลักสูตรนี้มีให้เลือกเรียนทั้งแผน ก. (แบบวิชาการ) และ แผน ข. (แบบวิชาชีพ) เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพที่ต้องใช้ความรู้ภาษาไทยในระดับสูงในแขนงอาชีพต่างๆได้ เช่น นักวิชาการ นักวิจัย นักแปล ครู นักธุรกิจ NGO ฯลฯ เงื่อนไขการรับสมัคร: – เป็นชาวต่างชาติ ที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ – จบปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ – มีความรู้ภาษาไทยในระดับกลาง (Intermediate) ขึ้นไป – ชาวต่างชาติที่ผ่านการเรียนวิชา Lifelong Learning ของศูนย์ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ สามารถเทียบโอนหน่วยกิตในรายวิชาที่เรียนผ่านมาแล้วได้ […]

งานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 22 เรื่อง “Mastering Thai at Your Own Pace: Soft Power Through Self-Directed Learning”

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 22 เรื่อง “Mastering Thai at Your Own Pace: Soft Power Through Self-Directed Learning” เพื่อเผยแพร่นวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ ผลงานของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยในฐานะ Soft Power ใหม่ ที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มชาวต่างชาติ ในวันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 13.30 – 15.30 น. ณ ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล ชั้น 1 (ชั้นลอย) อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน วิทยากรผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย คุณธฤต จรุงวัฒน์ […]

อาจารย์ ดร.สาวิตา ดิถียนต์ ภาควิชาศิลปการละคร ได้รับการอนุมัติจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

คณะอักษรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ อาจารย์ ดร.สาวิตา ดิถียนต์ ภาควิชาศิลปการละคร ได้รับการอนุมัติจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 885 วันที่ 28 มีนาคม 2567 ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

เรียนเชิญร่วมสมทบทุนในการสร้างหอเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เรียนเชิญท่านร่วมสมทบทุนในการสร้างหอเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งจะจัดสร้างขึ้นในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๗๐ พรรษา นอกจากจะเป็นการจำลองห้องทรงพระอักษรเมื่อทรงเป็นนิสิตในสถานที่จริง ยังประกอบด้วยห้องประชุมและนิทรรศการพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจอันทรงคุณค่าต่อทั้งคณะอักษรศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจสามารถสมทบทุนเข้ามูลนิธิมหาจักรีสิรินธร เพื่อคณะอักษรศาสตร์ เลขที่บัญชี 0672107474 ธนาคารไทยพาณิชย์ ออมทรัพย์ สาขาสวนจิตรลดาและส่งสลิปหลักฐานการโอนมาที่ supariya.l@chula.ac.th พร้อมแจ้งชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ การสมทบทุนนี้สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้

คณะอักษรศาสตร์ร่วมถวายพานพุ่มสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 107 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2567 เวลา 6.30 น. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี และหัวหน้าส่วนงานต่าง ๆ ร่วมกับ สมาคมนิสิตเก่า คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และ สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ ร่วมถวายพานพุ่มสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล และร่วมพิธีตักบาตร เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 107 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Seminar on “Aphasia and Bilingualism”

Join us for a seminar on “Aphasia and Bilingualism,” co-hosted by the Faculty of Arts at Chulalongkorn University and the University of Hong Kong. This virtual event will feature insightful presentations by esteemed speakers:

การบรรยายหัวข้อ “Religion, Race and Media Representation” โดย Associate Professor Dr.Jasjit Singh

วันอังคารที่ 19 มีนาคม 2567 Assoc.Prof.Dr.Jasjit Singh รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ Faculty of Arts, Humanities and Cultures, University of Leeds ให้เกียรติบรรยายหัวข้อ “Religion, Race and Media Representation” ณ ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ Assoc.Prof.Dr.Jasjit Singh ยังได้ร่วมประชุมหารือกับรศ.ดร. สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ รศ.ดร.ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ อ.ดร.มธุริน ลีละเศรษฐกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ รศ.ดร.แพร จิตติพลังศรี ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปล และผศ.ดร.ณัฏฐนันท์ จันทร์เจ้าฉาย อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนนิสิต การเตรียมหลักสูตร Double Degree และการสร้างกลุ่มวิจัยร่วมระหว่าง 2 สถาบัน รวมทั้งความร่วมมือด้านวิชาการด้านอื่นๆ

Mrs. Daniela-Brînduşa Băzăvan เอกอัครราชทูตโรมาเนียประจำประเทศไทย เยี่ยมเยียนคณะอักษรศาสตร์

เมื่อวันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567 Mrs. Daniela-Brînduşa Băzăvan เอกอัครราชทูตโรมาเนียประจำประเทศไทย มาเยี่ยมเยียนคณะอักษรศาสตร์ โดยมี รศ.ดร. สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ และ รศ.ดร.ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ให้การต้อนรับ การมาเยือนของเอกอัครราชทูตฯ ในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้พูดคุยถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศโรมาเนีย ผ่านความร่วมมือทางด้านการศึกษาและการจัดกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม รวมถึงการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ระหว่างคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ The National University of Theatre and Film I.L. Caragiale (UNATC)

คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับหลักสูตรและเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของคณะอักษรศาสตร์

เมื่อวันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 – 15.00 น. คณะครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 จำนวนรวม 32 คน ในโครงการห้องเรียนพิเศษการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับหลักสูตร และเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแนะแนวการศึกษาต่อเพื่ออาชีพในอนาคตสำหรับนักเรียนต่อไป

คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จังหวัดศรีสะเกษ เข้าศึกษาดูงานและรับฟังแนะนำการจัดการเรียนการสอนของคณะอักษรศาสตร์

เมื่อวันพุธที่ 6 มีนาคม 2567 เวลา 15.00 – 16.00 น. คณะครูและนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 77 คน จากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จังหวัดศรีสะเกษ เข้าศึกษาดูงานและรับฟังแนะนำการจัดการเรียนการสอนของคณะอักษรศาสตร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาผู้เรียน ประจำปีการศึกษา 2566 ในด้านการศึกษาต่อและความรู้ประสบการณ์ทางวิชาการในระดับอุดมศึกษา

คำเก่า-คำถิ่นในคำซ้อน (ชุด “วัจนวิวัฒน์” ลำดับที่ ๑) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิภาส โพธิแพทย์

หนังสือใหม่ของโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่อง คำเก่า-คำถิ่นในคำซ้อน (ชุด “วัจนวิวัฒน์” ลำดับที่ ๑) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิภาส โพธิแพทย์ลดราคา 10% จาก 270.00 บาท เหลือ 243.00 บาทดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://artschulabooks.lnwshop.com/p/221

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภรณี สิงห์เปลี่ยมและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรัญญา ชูโชติแก้ว ได้รับทุน Harvard-Yenching

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภรณี สิงห์เปลี่ยม อาจารย์ประจำหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรัญญา ชูโชติแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ได้รับทุน Harvard-Yenching เพื่อทำวิจัย ณ สถาบัน Harvard-Yenching เมือง Cambridge ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว ได้รับเชิญไปบรรยายหัวข้อ “มหาทิพมนต์: มนต์ที่ถูกลืมในประเทศไทย”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากกลุ่มงานวิจัยด้านพุทธศาสน์ศึกษา ภาควิชาพุทธศาสน์ศึกษา (綜合仏教学) มหาวิทยาลัยไทโช (大正大学) ประเทศญี่ปุ่นเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ เรื่อง タイで忘れられたパーリ語の呪文であるマハーディッバマンタ (บรรยายเป็นภาษาญี่ปุ่น “มหาทิพมนต์: มนต์ที่ถูกลืมในประเทศไทย”) และเข้าร่วมการสัมมนาด้านการศึกษาคัมภีร์หัวข้อ “ธรฺมปรฺยาย ธมฺมปริยาย” ระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2567