Seminar on “Aphasia and Bilingualism”

Join us for a seminar on “Aphasia and Bilingualism,” co-hosted by the Faculty of Arts at Chulalongkorn University and the University of Hong Kong. This virtual event will feature insightful presentations by esteemed speakers:

การบรรยายหัวข้อ “Religion, Race and Media Representation” โดย Associate Professor Dr.Jasjit Singh

วันอังคารที่ 19 มีนาคม 2567 Assoc.Prof.Dr.Jasjit Singh รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ Faculty of Arts, Humanities and Cultures, University of Leeds ให้เกียรติบรรยายหัวข้อ “Religion, Race and Media Representation” ณ ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ Assoc.Prof.Dr.Jasjit Singh ยังได้ร่วมประชุมหารือกับรศ.ดร. สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ รศ.ดร.ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ อ.ดร.มธุริน ลีละเศรษฐกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ รศ.ดร.แพร จิตติพลังศรี ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปล และผศ.ดร.ณัฏฐนันท์ จันทร์เจ้าฉาย อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนนิสิต การเตรียมหลักสูตร Double Degree และการสร้างกลุ่มวิจัยร่วมระหว่าง 2 สถาบัน รวมทั้งความร่วมมือด้านวิชาการด้านอื่นๆ

Mrs. Daniela-Brînduşa Băzăvan เอกอัครราชทูตโรมาเนียประจำประเทศไทย เยี่ยมเยียนคณะอักษรศาสตร์

เมื่อวันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567 Mrs. Daniela-Brînduşa Băzăvan เอกอัครราชทูตโรมาเนียประจำประเทศไทย มาเยี่ยมเยียนคณะอักษรศาสตร์ โดยมี รศ.ดร. สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ และ รศ.ดร.ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ให้การต้อนรับ การมาเยือนของเอกอัครราชทูตฯ ในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้พูดคุยถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศโรมาเนีย ผ่านความร่วมมือทางด้านการศึกษาและการจัดกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม รวมถึงการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ระหว่างคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ The National University of Theatre and Film I.L. Caragiale (UNATC)

คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับหลักสูตรและเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของคณะอักษรศาสตร์

เมื่อวันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567 เวลา 13.30 – 15.00 น. คณะครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 จำนวนรวม 32 คน ในโครงการห้องเรียนพิเศษการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับหลักสูตร และเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแนะแนวการศึกษาต่อเพื่ออาชีพในอนาคตสำหรับนักเรียนต่อไป

คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จังหวัดศรีสะเกษ เข้าศึกษาดูงานและรับฟังแนะนำการจัดการเรียนการสอนของคณะอักษรศาสตร์

เมื่อวันพุธที่ 6 มีนาคม 2567 เวลา 15.00 – 16.00 น. คณะครูและนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 77 คน จากโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จังหวัดศรีสะเกษ เข้าศึกษาดูงานและรับฟังแนะนำการจัดการเรียนการสอนของคณะอักษรศาสตร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาผู้เรียน ประจำปีการศึกษา 2566 ในด้านการศึกษาต่อและความรู้ประสบการณ์ทางวิชาการในระดับอุดมศึกษา

คำเก่า-คำถิ่นในคำซ้อน (ชุด “วัจนวิวัฒน์” ลำดับที่ ๑) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิภาส โพธิแพทย์

หนังสือใหม่ของโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่อง คำเก่า-คำถิ่นในคำซ้อน (ชุด “วัจนวิวัฒน์” ลำดับที่ ๑) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิภาส โพธิแพทย์ลดราคา 10% จาก 270.00 บาท เหลือ 243.00 บาทดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://artschulabooks.lnwshop.com/p/221

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภรณี สิงห์เปลี่ยมและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรัญญา ชูโชติแก้ว ได้รับทุน Harvard-Yenching

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภรณี สิงห์เปลี่ยม อาจารย์ประจำหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรัญญา ชูโชติแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ได้รับทุน Harvard-Yenching เพื่อทำวิจัย ณ สถาบัน Harvard-Yenching เมือง Cambridge ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว ได้รับเชิญไปบรรยายหัวข้อ “มหาทิพมนต์: มนต์ที่ถูกลืมในประเทศไทย”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากกลุ่มงานวิจัยด้านพุทธศาสน์ศึกษา ภาควิชาพุทธศาสน์ศึกษา (綜合仏教学) มหาวิทยาลัยไทโช (大正大学) ประเทศญี่ปุ่นเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ เรื่อง タイで忘れられたパーリ語の呪文であるマハーディッバマンタ (บรรยายเป็นภาษาญี่ปุ่น “มหาทิพมนต์: มนต์ที่ถูกลืมในประเทศไทย”) และเข้าร่วมการสัมมนาด้านการศึกษาคัมภีร์หัวข้อ “ธรฺมปรฺยาย ธมฺมปริยาย” ระหว่างวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2567

รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรสอนรายวิชา 2402605 เศรษฐกิจการเมืองโลก ในหัวข้อบรรยาย “Literature on Transnational Corporations in Latin America” 

รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากกลุ่มงานบริการการศึกษา ฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ ไปเป็นวิทยากรสอนรายวิชา 2402605 เศรษฐกิจการเมืองโลก ในหัวข้อบรรยาย “Literature on Transnational Corporations in Latin America” วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 เวลา 17:30 – 20:30 น. ณ ห้อง 515 ชั้น 5 อาคารเกษม อุทยานิน (รัฐศาสตร์ 60 ปี) คณะรัฐศาสตร์ 

รองศาสตราจารย์ ดร. ภาสุรี ลือสกุล ได้รับเชิญไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับผลงานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ภาพนำเสนอแนวคิดครอบครัวนิยมของชาวลาตินอเมริกาผ่านภาพยนต์แอนิเมชั่นเรื่อง Coco และ Encanto  

รองศาสตราจารย์ ดร. ภาสุรี ลือสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับผลงานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ภาพนำเสนอแนวคิดครอบครัวนิยมของชาวลาตินอเมริกาผ่านภาพยนต์แอนิเมชั่นเรื่อง Coco และ Encanto ระหว่างวันที่ 2 – 4 กุมภาพันธ์ 2567 ณ จังหวัดเชียงใหม่ 

รองศาสตราจารย์ ดร.วิภาส โพธิแพทย์ ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการและเข้าประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำต้นฉบับเพื่อจัดพิมพ์พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสภา

รองศาสตราจารย์ ดร.วิภาส โพธิแพทย์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ไปเป็นกรรมการและเข้าประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำต้นฉบับเพื่อจัดพิมพ์พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสภา ทุกวันจันทร์สัปดาห์ที่ 1 และ 3 และทุกวันพุธสัปดาห์ที่ 2 และ 4  โดยการประชุมครั้งที่ 1-1/2567 จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 31 มกราคม 2567 เวลา 09:00 – 11:00 น. ผ่านระบบออนไลน์

รองศาสตราจารย์ ดร.จารุณี หงส์จารุ ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมเพื่อจัดทำบทเพลงสงกรานต์ฉบับภาษาต่างประเทศ  

รองศาสตราจารย์ ดร.จารุณี หงส์จารุ อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะการละคร ได้รับเชิญจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ไปเข้าร่วมประชุมเพื่อจัดทำบทเพลงสงกรานต์ฉบับภาษาต่างประเทศ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 เวลา 09:30 – 16:30 น. ณ ห้องประชุมบุญเจิม-ใบตอง ชั้น 1 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม 

อาจารย์ ดร. ชนันพร เหมสกุล ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนรายวิชา ปศ403 สังคมและวัฒนธรรมต่างชาติ ในหัวข้อเรื่อง “ภาษาและการสื่อสารกับสังคม วัฒนธรรม : ภาษารัสเซีย”

อาจารย์ ดร. ชนันพร เหมสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนรายวิชา ปศ403 สังคมและวัฒนธรรมต่างชาติ ในหัวข้อเรื่อง “ภาษาและการสื่อสารกับสังคม วัฒนธรรม : ภาษารัสเซีย” ในวันที่ 19 เมษายน 2567 เวลา 14:30 – 17:20 น. และวันที่ 26 เมษายน 2567 เวลา 14:30 – 17:20 นณ ห้อง 11 – 804 ชั้น 8 อาคารคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ