ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำผึ้ง ปัทมะลางคุล ได้รับเชิญไปเป็นผู้สอนรายวิชา 0201123 วัฒนธรรมและประเพณีไทยในวิถีชีวิตไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำผึ้ง ปัทมะลางคุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากศูนย์การศึกษาทั่วไป ไปเป็นผู้สอนรายวิชา 0201123 วัฒนธรรมและประเพณีไทยในวิถีชีวิตไทย ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 09:00 – 12:00 น. ตลอดภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2566

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภนันทน์ มนต์คงธรรม ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการสัมภาษณ์คัดเลือกนักเรียนที่มีความถนัดทางภาษาอังกฤษเข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภนันทน์ มนต์คงธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ ได้รับเชิญจากฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ ไปเป็นกรรมการสัมภาษณ์คัดเลือกนักเรียนที่มีความถนัดทางภาษาอังกฤษเข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ ปีการศึกษา 2567 รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2567 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนกร แก้ววิภาส ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการตัดสินให้คะแนนในการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (ภาษาเยอรมัน) 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนกร แก้ววิภาส อาจารย์ประจำสาขาวิชาเยอรมัน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาเยอรมัน ไปเป็นกรรมการตัดสินให้คะแนนในการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (ภาษาเยอรมัน) เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567 เวลา 08:00 – 16:30 น. ณ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัชพล ศิริสวัสดิ์ ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษ บรรยายในหัวข้อ “ตัวอย่างงานวิจัยการจัดการทางสังคมวิทยากับมิติศาสนากับสังคม”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัชพล ศิริสวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไปเป็นอาจารย์พิเศษ บรรยายในหัวข้อ “ตัวอย่างงานวิจัยการจัดการทางสังคมวิทยากับมิติศาสนากับสังคม” เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12:00 – 14:00 น. ณ ห้องประชุม รศ.ดร.ธวัช บุรีรักษ์ ชั้น 12 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมโครงการสร้างเสริมสถาบันพระพุทธศาสนาสุขภาวะเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ไปเข้าร่วมประชุมโครงการสร้างเสริมสถาบันพระพุทธศาสนาสุขภาวะเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ครั้งที่ 1/2567  เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 เวลา 16:30 – 18:00 น. ผ่านระบบออนไลน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยรัตน์ พลมุข ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในรายวิชาภาพถ่ายและทฤษฎีภาพถ่าย (Photography and Theory of Photography)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยรัตน์ พลมุข อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในรายวิชา 310 395-59 ภาพถ่ายและทฤษฎีภาพถ่าย (Photography and Theory of Photography) และรายวิชา 310 334-164 ภาพถ่ายและทฤษฎีภาพถ่าย (Photography and Theory of Photography) ในภาคการศึกษาปลาย หัวข้อ “ภาพถ่ายในนวนิยาย “ลาม็องต์” ของดูราส” เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 เวลา 13:00 – 15:40 น. ณ ห้อง บค.508 คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพร

อาจารย์ ดร.จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในหัวข้อ “โรมานซ์ทะเลทรายในฐานะปรากฏการณ์วรรณกรรม” 

อาจารย์ ดร.จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปเป็นวิทยากรในหัวข้อ “โรมานซ์ทะเลทรายในฐานะปรากฏการณ์วรรณกรรม” เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 เวลา 13:00 – 16:00น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 

รองศาสตราจารย์ ดร.จารุณี หงส์จารุ ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมเพื่อจัดทำบทสงกรานต์ฉบับภาษาต่างประเทศ

รองศาสตราจารย์ ดร.จารุณี หงส์จารุ อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะการละคร ได้รับเชิญจากกระทรวงวัฒนธรรม ไปเข้าร่วมประชุมเพื่อจัดทำบทสงกรานต์ฉบับภาษาต่างประเทศ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 เวลา 09:30 – 16:30 น. ณ ห้องประชุม 207 ชั้น 2 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม 

อาจารย์กันตภณ อินทมาตย์ ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการการตัดสินการแข่งขันตอบคำถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศส

อาจารย์กันตภณ อินทมาตย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปเป็นกรรมการการตัดสินการแข่งขันตอบคำถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศสในโครงการนิทรรศการประจำปี 2567 “Tissons les revês: l’art des maisons de couture françaises” เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 ณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญญา วัฒนกุล ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในหัวข้อ “แพทยานุวัตร (Medicalization) ในสังคมร่วมสมัย” 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญญา วัฒนกุล อาจารย์ประจำศูนย์ไทยศึกษา ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปเป็นวิทยากรในหัวข้อ “แพทยานุวัตร (Medicalization) ในสังคมร่วมสมัย” เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 13:00 – 16:00 น. ณ ห้อง ศร3-202 ชั้น 2 อาคารศูนย์เรียนรวม 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 

งานกิจการนิสิต และบริษัทเอ็กซอนโมบิล จำกัด เปิดรับสมัครโครงการส่งเสริมความรู้วิชาบริหารธุรกิจ ให้แก่นิสิตคณะอักษรศาสตร์

งานกิจการนิสิต คณะอักษรศาสตร์ และ บริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด เปิดรับสมัครโครงการส่งเสริมความรู้วิชาบริหารธุรกิจ ให้แก่นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ExxonMobil BizLingo Enhancement Program (EMBiL)” ภาคการศึกษาปลาย ประจำปีการศึกษา 2566 นิสิตที่มีความประสงค์สมัครทุนการศึกษาดังกล่าว สามารถสมัครได้ ผ่านการแสกน QR Code ที่ปรากฏในภาพสื่อประชาสัมพันธ์นี้ สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2567 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ e-mail : artschula.scholarship@gmail.com

สินค้าที่ระลึกประจำปี 2567 (ปีมะโรง) จากภาพฝีพระหัตถ์รูป “มังกรบิน”

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานภาพฝีพระหัตถ์รูป “มังกรบิน” เพื่อใช้ในการทำสินค้าที่ระลึกประจำปี 2567 (ปีมะโรง) มูลนิธิมหาจักรีสิรินธร เพื่อคณะอักษรศาสตร์ ได้จัดทำเสื้อโปโล มีทั้งไซส์ชายและหญิงทั้งหมด 6 สี ได้แก่ สีครีม สีน้ำเงิน สีเขียว สีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม (ส่วนสีแดงมีแต่ไซส์ผู้ชาย) และกระเป๋าถือมีทั้งใบเล็กและใบใหญ่ สามารถซื้อได้ที่มูลนิธิมหาจักรีสิรินธรฯ ห้อง 116 อาคารมหาวชิราวุธ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในวันและเวลาราชการติดต่อสั่งซื้อได้ที่คุณจรินทร์ หมายเลข 0626561635​ หรือ 02- 2184978 มีบริการส่ง (คิดค่าส่งตามจริง)

รศ.ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ได้รับทุนนักวิชาการวิจัยอาคันตุกะจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น

รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ จากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับทุนนักวิชาการวิจัยอาคันตุกะจากศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Center for Southeast Asian Studies – CSEAS) มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติในการจัดหาและการอธิบายทรัพยากรสารสนเทศของไทยในหน่วยงานทางวัฒนธรรม เช่น ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์ ในประเทศญี่ปุ่น ทุนวิจัยในครั้งนี้เป้นหนึ่งในชุดการวิจัยที่ ดร.ทรงพันธ์ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในการสำรวจมุมมอง Insider/Outsider ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรสารสนเทศของไทย ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านไทยศึกษาในระดับนานาชาติ ผลการวิจัยก่อนหน้านี้ชี้ให้เห็นความท้าทายสำคัญของหน่วยงานทางวัฒนธรรมของไทยในการประยุกต์ใช้มาตรฐานที่พัฒนามาจากวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรที่มีอยู่ไม่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับแหล่งข้อมูลในระดับนานาชาติได้ ช่องว่างดังกล่าวมีผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ในทางวิชาการในระดับสากล การศึกษาในครั้งนี้จะเป็นการสำรวจในบริบทและมุมมองที่แตกต่างออกไป กล่าวคือเป็นการสำรวจแนวปฏิบัติที่มาจากสังคมและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรสารสนเทศในระดับสากลที่ไม่ใช่ประเภทตะวันตก โครงการทุนนักวิชาการวิจัยอาคันตุกะของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเกียวโต ก่อตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1975 มีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกได้รับทุนจากโครงการดังกล่าวมากกว่า 400 คน โครงการนี้สนับสนุนงานวิจัยที่น่าสนใจและมีความเป็นสหสาขาวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเชิงเปรียบเทียบและเชิงประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ในบริบทที่กว้างออกไปอีกด้วย ดร.ทรงพันธ์ เดินทางไปรับทุนและดำเนินการวิจัยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งความพยายามของคณะอักษรศาสตร์ในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยในระดับนานาชาติ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการบูรณาการการวิจัยในรูปแบบสหวิทยาการทั้งทางด้านบรรณารักษศาสตร์ สังคมวิทยา พื้นที่ศึกษา […]

รองศาสตราจารย์ ดร.วริตตา ศรีรัตนา ได้รับทุนนักวิจัยระยะเวลา 6 เดือน ไปประจำการ ณ ศูนย์การศึกษาด้านวันสิ้นโลกและโลกหลังมหาวินาศ “เคเทอ ฮัมบูร์เกอร์” ณ มหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

รองศาสตราจารย์ ดร.วริตตา ศรีรัตนา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ ได้รับทุนนักวิจัยระยะเวลา 6 เดือน ไปประจำการ ณ ศูนย์การศึกษาด้านวันสิ้นโลกและโลกหลังมหาวินาศ “เคเทอ ฮัมบูร์เกอร์” ณ มหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อดำเนินการโครงการวิจัยเรื่อง “ไม่รู้หรอกหรือว่านี่มิใช่จุดจบแห่งโลก (ปิตาธิปไตยและบรรทัดฐานรักต่างเพศ): ความกลัวเกลียดเหยียดหญิงแห่ง(โลกหลัง)มหาวินาศสิ้นโลก” ระหว่างเดือนกันยายน 2567 ถึง กุมภาพันธ์ 2568 Associate Professor Verita Sriratana, PhD, from the Department of English, has been awarded a 6-month research fellowship at the Käte Hamburger Center for Apocalyptic and Post-Apocalyptic Studies (CAPAS) at Heidelberg University, […]