รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรโครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เรื่อง “กนิษฐาธิราชนิพนธ์ : ยลรัตนะในพระราชนิพนธ์กรมสมเด็จพระเทพราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี”  

รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ ไปเป็นวิทยากรโครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ประจำปี 2567 ครั้งที่ 2 การบรรยายเรื่อง “กนิษฐาธิราชนิพนธ์ : ยลรัตนะในพระราชนิพนธ์กรมสมเด็จพระเทพราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ในวันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 13:30 – 16:30 น. ณ อาคารดำรงราชานุภาพ 

อาจารย์ ดร.อังสนา เรืองดำ ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ

อาจารย์ ดร.อังสนา เรืองดำ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ไปเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13:30 น. ณ ห้องประชุมหมายเลข 405 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา (สว.)

รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมกองบรรณาธิการวารสารควบคุมโรค ครั้งที่ 1/2567 

รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากกรมควบคุมโรค ไปเข้าร่วมประชุมกองบรรณาธิการวารสารควบคุมโรค ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13:00 – 16:00 น. ผ่านระบบออนไลน์

อาจารย์ ดร.ณัฐนพ พลาหาญ ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษบรรยายในหัวข้อ “สหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็น” 

อาจารย์ ดร.ณัฐนพ พลาหาญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปเป็นอาจารย์พิเศษบรรยายในรายวิชา ศศศศ 118 การเมืองโลกร่วมสมัย ภาคการศึกษาที่ 2/2566 หัวข้อ “สหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็น” ในวันที่ 12  มีนาคม 2567  เวลา 12:30 – 15:30 น. ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล ห้อง MLC-323 

รองศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด ศีติสาร ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น

รองศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด ศีติสาร อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากภาควิชาภาษาญี่ปุ่น วิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ไปเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น ครั้งที่ 1 ซึ่งมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ The Komaru-Koutsu Foundation และ Fukuyama City University เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12:30 – 17:00 น. ณ ห้อง Auditorium อาคารรัตนคุณากร มหาวิทยาลัยรังสิต 

รองศาสตราจารย์ ดร.ศริญญา อรุณขจรศักดิ์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในรายวิชา ปก.321 ประวัติปรัชญาตะวันออก 

รองศาสตราจารย์ ดร.ศริญญา อรุณขจรศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา ได้รับเชิญจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (ศูนย์ลำปาง) วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในรายวิชา ปก.321 ประวัติปรัชญาตะวันออก ระหว่างวันที่ 11, 18 และ 25 มีนาคม 2567 เวลา 13:30 – 16:30 น. ผ่านระบบออนไลน์

รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไทยกับปัญญาประดิษฐ์และความฉลาดทางดิจิทัล” 

รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไทยกับปัญญาประดิษฐ์และความฉลาดทางดิจิทัล” ในการประชุมวิชาการระดับชาติ  ในวันที่ 4 มิถุนายน 2567 เวลา 08:30 – 17:00 น. ผ่านระบบออนไลน์ 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร บุญรุ่ง ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมเพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมเพื่อผลิตผู้สอนภาษาเกาหลีชาวไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร บุญรุ่ง อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากศูนย์การศึกษาเกาหลี ประจำประเทศไทย (KEC) ไปเข้าร่วมประชุมเพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมเพื่อผลิตผู้สอนภาษาเกาหลีชาวไทย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13:00 – 14:00 น. ผ่านระบบออนไลน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษบรรยายเรื่อง “การนำทฤษฎีสัทศาสตร์มาประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์และรวมถึงงานวิจัย” 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไปเป็นอาจารย์พิเศษบรรยายเรื่อง “การนำทฤษฎีสัทศาสตร์มาประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์และรวมถึงงานวิจัย” ในวันที่ 3 มีนาคม 2567 เวลา 13:00 – 16:50 น. 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการตัดสินรอบชิงชนะเลิศงาน SIFE Social Enterprise Case Competition (SECC) 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากฝ่ายกิจการนิสิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ไปเป็นกรรมการตัดสินรอบชิงชนะเลิศงาน SIFE Social Enterprise Case Competition (SECC) การแข่งขันการแก้ปัญหาเชิงธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือชุมชน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12:00 – 17:30 น. ณ โรงละครเภตราลัย (Black Box) ชั้น 14 อาคารมหิตลาธิเบศร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการจัดการข้อมูล การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะอนุกรรมการจัดการข้อมูล การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล ไปเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการจัดการข้อมูล การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล ครั้งที่ 2/2567  เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10:30 น. ณ ห้องประชุม 504  ชั้น 5 อาคารรัฐสภา 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการคลังสารสนเทศรัฐสภา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะกรรมการการดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการคลังสารสนเทศรัฐสภาของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ไปเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการคลังสารสนเทศรัฐสภา ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 2/2567  เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:30 น.ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA 309 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 

ขอแสดงความยินดีแก่นิสิตที่ได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานทางวิชาการที่งานประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศแห่งประเทศไทย (TSG)

ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีแก่นิสิตที่ได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานทางวิชาการที่งานประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศแห่งประเทศไทย (TSG) ครั้งที่ 16 ซึ่งจัดขึ้นโดยภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2567 โดยได้รางวัลรวมทั้งสิ้น 7 รางวัล จาก 7 ผลงานที่ได้นำเสนอ ดังนี้ ——————————————— การนำเสนอแบบปากเปล่า (Oral presentation) 1.รางวัลคะแนนรวมสูงสุด (Overall best) และรางวัลยอดนิยม (Popular vote) กลุ่มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบ และ การปรับตัว การวิเคราะห์ลักษณะฝนจากพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยในแต่ละช่วงของสภาวะเอนโซ โดย นายเธียรชัย ทองเงิน และนางสาวปพิชญา พลนิ่ม (อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร.เอกกมล วรรณเมธี) 2. รางวัลความคิดริเริ่มดีเด่น (Best originality) กลุ่มนวัตกรรมภูมิสารสนเทศ การศึกษาเปรียบเทียบการประเมินค่าความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนในประเทศไทยจากปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาและความลึกเชิงแสงของอนุภาคแขวนลอยในอากาศด้วยสมการถดถอยพหุคูณและการเรียนรู้ของเครื่อง โดย นางสาวจิราภา หมื่นฤทธิ์ และ […]

ขอเชิญรับฟังการบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ฝุ่น PM2.5 และผลกระทบที่ซ่อนอยู่”

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญรับฟังการบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ฝุ่น PM2.5 และผลกระทบที่ซ่อนอยู่” ร่วมเสวนาโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ และ อาจารย์มัลลิกา สุกิจปาณีนิจ เป็นวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกกมล วรรณเมธี เป็นพิธีกร สังกัดภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ————————————————————————– วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 13.30-15.00 น. ณ ห้อง 304 ชั้น 3 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจสามารถรับชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่นี่

มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยได้มอบทุนการศึกษาประจำปี 2566 แก่นิสิตอักษรศาสตร์เอกภาษาญี่ปุ่น

เมื่อวันพุธที่ 21 ก.พ. 2567 มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยได้มอบทุนการศึกษาประจำปี 2566 ให้แก่นิสิตจุฬาฯ 12 คน โดยมี ศ. ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี ผศ.ดร. ชัยพร ภู่ประเสิรฐ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต และ ผศ.ดร.สุกิจ พู่พวง ผู้ช่วยคณบดีคณะอักษรศาสตร์ เข้าร่วมพิธีและแสดงความยินดีกับนิสิตด้วย นิสิตอักษรศาสตร์เอกภาษาญุี่ปุ่นได้รับทุน 2 คนคือ น.ส. พิมพ์ชนก บุญเนรมิตร (ชั้นปีที่ 4) และ น.ส. พัชราวดี โพธา (ชั้นปีที่ 2) ในการนี้ น.ส. พิมพ์ชนก บุญเนรมิตร ได้เป็นตัวแทนนิสิตจุฬาฯกล่าวคำขอบคุณมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยเป็นภาษาญี่ปุ่นด้วย