ข่าวและกิจกรรม

สดุดีมหาคีตราชัน

“สดุดีมหาคีตราชัน”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านดนตรีและทรงเป็น “คีตราชัน”อย่างแท้จริง  พระองค์ทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิดทั้งแซกโซโฟน คลาริเน็ต ทรัมเป็ต เปียโน และกีตาร์ ทรงศึกษาดนตรีอย่างลึกซึ้ง และทรงได้พระราชนิพนธ์เพลงไว้ถึง 48 เพลง มีท่วงทำนองในลีลาของเพลงแจ๊ส คลาสสิก เพลงสมัยนิยม  บทเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกในปีพ.ศ. 2489 คือ “แสงเทียน”

ชาวอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้มีส่วนร่วมประพันธ์คำร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ รวมทั้งสิ้น 23 เพลง ได้แก่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี   ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา    ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร  ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา   นายสุภร ผลชีวิน   ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาคและ รศ.สดใส พันธุมโกมล  

ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น สมาคมนิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จึงจัดงาน “สดุดีมหาคีตราชัน” ขึ้น เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เพื่ออัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ชาวอักษรฯ ได้รับเกียรติอันสูงสุดที่ได้มีส่วนร่วมในการประพันธ์เพลงพระราชนิพนธ์

มีนักร้อง นักดนตรีกิตติมศักดิ์มากมาย อาทิ ศรีไศล สุชาตวุฒิ  ชรัส เฟื่องอารมย์  นัดดา วิยะกาญจน์  วัชระ ปานเอี่ยม  ฐิติมา สุตสุนทร  กิตตินันท์ ชินสำราญ และดริน พันธุมโกมล

และนักร้องนักดนตรีนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ อาทิ จันทนีย์ อูนากูล  ชรภิญญ์ พงศ์ธรพิพัฒน์  ผุสชา โทณะวณิก สุภัทรา อินทรภักดี โกราษฎร์   ธาริณี ทิวารี   นรินทร์ ประสพภักดี   นิดาวรรณ อัศวทวีโชค  พนิตนาฏ ฉัตรวิไล  ขจิตา ดีมาก  รวิอร สวัสดิสุข  พร้อมด้วยคณะประสานเสียงนิสิตอักษรศาสตร์ โดย รศ.จารุณี หงศ์จารุ  และ นักร้องประสานเสียง Harmonic Noises  

ที่เป็นสีสันของชาวอักษรศาสตร์ คือ การแสดงของ อบ.41 

อำนวยดนตรีโดย ธเนส สุขวัฒน์ และวงดนตรี MusicGuru Big Band

บ่ายวันนั้น นอกจากจะได้ดื่มด่ำไปกับความไพเราะของเพลงพระราชนิพนธ์แล้ว เราพี่น้องชาวอักษรฯ ยังได้ร่วมซาบซึ้งประทับใจไปกับเรื่องราว เรื่องเล่าจากผู้ประพันธ์คำร้อง ศ. ดร.ประเสริฐ  ณ นคร ผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยในเพลง “ใกลรุ่ง” “ชะตาชีวิต” “ในดวงใจนิรันดร์” “แว่ว” และ “เกษตรศาสตร์”   และ รศ.สดใส พันธุมโกมล (อบ.20) ผู้ประพันธ์คำร้องเพลง “Candlelight Blues”  ซึ่งทั้งสองท่านได้ถ่ายทอดความทรงจำครั้งทูลเกล้าฯ ถวายเนื้อเพลงด้วยความปีติเต็มหัวใจ  รวมถึง ผศ.พาณี บุญทวี ที่ได้มาเล่าถึงความสำคัญของการใช้ภาษาที่งดงามในบทเพลง  ซึ่งพิธีกรทั้งสอง ผุสชา โทณะวณิก และ นิติ ชัยชิตาธร ก็สามารถร้อยเรียงเรื่องราวให้เกิดความประทับใจและสนุกสนานได้ตลอดสามชั่วโมงเต็ม

คณะกรรมการฯ ขอขอบพระคุณหน่วยงานต่างๆ ซึ่งได้ร่วมสนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงลงได้อย่างราบรื่น ได้แก่ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คุณเกียรติศักดิ์ เทพผดุงพร และบริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด ธนาคารออมสิน C.P.L. GROUP Public Company Limited ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และ ปตท.สผ. บริษัท เจ เอส แอล โกลบอลมีเดีย จำกัด  บริษัท มายด์เอ็นแม็ทเทอร์ส จำกัด  หจก.เปิ้ลมิวสิคซาวน์ซีสเต็ม  บริษัท เอ็มดี อดรีนาลีน(ประเทศไทย) จำกัด

และขอขอบคุณพี่น้องชาวอักษรศาสตร์ที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่า

บทและกำกับการแสดง พิไลวรรณ บุญล้น

ดูแลการผลิต    ธิษณา เดือนดาว

ดูแลงานดนตรี   ผุสชา โทณะวณิก

ช่วยดูแลการผลิต โชติรส วิบูลย์ลาภ สรพงษ์ เอื้อชูชัย และวินัย มากุลสวัสดิ์อุดม

 

\

 

 

 

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

Copyright 2024 The Faculty of Arts Chulalongkorn University