รศ. ดร.วไล จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ปริญญาโท และปริญญาเอก (เกียรตินิยม) สาขาวิชาประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ประเทศฝรั่งเศส
รศ. ดร.วไล ทำงานในสาขาอาชีพครู และอุทิศตนเพื่องานสิทธิมนุษยชนและสิทธิเด็ก ดังนี้
และปัจจุบัน รศ.ดร.วไล ได้อุทิศตนและทำคุณประโยชน์ในฐานะครูและงานสิทธิมนุษยชนและสิทธิเด็ก ดังนี้
โดยมีผลงานที่สร้างชื่อเสียง
เมื่อเป็นอาจารย์ได้มีโอกาสถวายพระอักษรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในวิชาอารยธรรมยุคกลาง ประวัติศาสตร์รุสเซียสมัยใหม่ และประวัติศาสตร์อังกฤษสมัยใหม่
ดร.มล.ปริยา นวรัตน์
การศึกษา
- โรงเรียนราชินี (อนุบาล-เตรียมอุดม 2 แผนกอักษรศาสตร์)
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ และครุศาสตร์)
- Mississippi State University, USA
- ปริญญาโท Industrial Education
- ปริญญาโท Educational Specialist
- ปริญญาเอก Curriculum and Instruction
การทำงาน (ประจำ)
การทำงาน (พิเศษ)
ด้านวิชาการ
หนังสือแปล
งานด้านสังคม
งานด้านต่างประเทศ
งานด้านศาสนา
รองศาสตราจารย์ ดร. ปราณี พูลสุข
เป็นอักษรจรัส โดยมีผลงานดังนี้
1. ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเป็นอย่างดียิ่ง โดยนำวิชาที่เรียนจบจากคณะอักษรศาสตร์ มาทำงานด้านการสอนและการบริหารทั้งในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยเป็นเวลา 39 ปี นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติในด้านต่างๆ
เสนอโดย นางฉันทนา วีระพาณิช
รองศาสตราจารย์ ดร. เตือนใจ ตันงามตรง
เป็นอักษรจรัส ด้วยเหตุผลดังนี้
เป็นผู้บริหารที่ดี อุทิศตนและเสียสละทำคุณประโยชน์ให้สถาบันอย่างเต็มที่ เพราะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ข้าราชการทั่วไป
ณ ภูพานราชนิเวศน์ สกลนคร 2529
เสนอโดย รองศาสตราจารย์ มาลินี จันทวิมล
รองศาสตราจารย์ มาลินี จันทวิมล สำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ รุ่น 23
เกียรติประวัติและผลงานที่ภาคภูมิใจ
เป็นผู้อำนวยการสถาบันภาษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่าง พ.ศ. 2531-2535 สร้างศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ในโครงการนำร่อง ในปี พ.ศ.2532
ให้คำแนะนำในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในคณะต่างๆ ในจุฬาฯ
นำบทเรียนไปเสริมไว้ที่ศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง สถาบันวิทยบริการ เพื่อบริการแก่นิสิต คณะครุศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์
การฝึกฝนให้นิสิตเป็นผู้ใฝ่หาความรู้ด้วยตนเองและเป็นเลิศทางวิชาการนี้ ตรงตาม Montien Declaration ปี 2530 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ระบุความมุ่งมั่นในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งวิชาการในรูปแบบต่างๆ
ทำการจัดประชุมระดับชาติและนานาชาติไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง
เนื่องจากมีความคิดเห็นว่า ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่มีความสำคัญและมีประโยชน์ จึงได้ทำการเรียบเรียงหนังสือเพื่อช่วยฝึกฝนการอ่านของผู้เรียนต่อไป ได้ดำเนินการพิมพ์ 2 บริษัทด้วยกัน
หนังสือทั้งสองเล่มนี้ผ่านการตรวจโดยคณะกรรมการตรวจซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่กระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งขึ้น และอนุญาตให้ใช้ในโรงเรียนได้ (ดำเนินการพิมพ์มากกว่า 50 ครั้ง ครั้งละ 10,000-30,000 ฉบับ พ.ศ. 2539 พิมพ์จำนวน 80,000 ฉบับ)
หนังสือเล่มนี้ผ่านการตรวจจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากกระทรวงศึกษาธิการ และอนุญาตให้ใช้ในโรงเรียนได้ (ดำเนินการพิมพ์มากกว่า 50 ครั้ง ครั้งละ 10,000 ฉบับ พ.ศ. 2537 พิมพ์จำนวน 80,000 ฉบับ เป็นต้น)
หนังสือชุดนี้พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2542 และขณะนี้ยังดำเนินการจัดพิมพ์อยู่
เป็นหนังสือชุดพัฒนาทักษะการอ่าน มีทั้งหมด 8 เล่มด้วยกัน และเรียงตามความยากง่าย
2.1 Expanding Reading Skills Book I (English for Everyday Use and English for Future Careers) |
พิมพ์ครั้งที่ 1 2552 |
ระดบมหาวิทยาลัยปีแรกและผู้ที่เตรียมตัวสอบข้อทดสอบมาตรฐาน เช่น TOEFL (สหรัฐอเมริกา), IELTS (อังกฤษ), CU-TEP (จุฬาฯ) |
|
2.2 Expanding Reading Skills Book II (English for Academic Purpose) |
พิมพ์ครั้งที่ 1 2548 พิมพ์ครั้งที่ 2 2554 |
|
|
2.3 Expanding Reading Skills-Level 6 |
พิมพ์ครั้งที่ 1 2553 พิมพ์ครั้งที่ 2 2555 |
|
สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย |
2.4 Expanding Reading Skills-Level 5
|
พิมพ์ครั้งที่ 1 2552 พิมพ์ครั้งที่ 2 2555 |
||
2.5 Expanding Reading Skills-Level 4 |
พิมพ์ครั้งที่ 1 2550 พิมพ์ครั้งที่ 2 2553 พิมพ์ครั้งที่ 3 2557 |
||
2.6 Expanding Reading Skills-Level 3 |
พิมพ์ครั้งที่ 1 2558 |
สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น |
|
2.7 Expanding Reading Skills-Level 2 |
พิมพ์ครั้งที่ 1 2559 |
||
2.8 Expanding Reading Skills-Level 1 |
พิมพ์ครั้งที่ 1 2559 |
||
|
|
|
|
|
|
|
|
เสนอโดย นางดวงจันทร์ พิชยนันท์
คุณวนิดา สถิตานนท์ เป็นอักษรจรัส อบ. 23
มีผลงานดังนี้
วนิดา สถิตานนท์ เป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ในการแต่งร้อยกรองทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต และสามารถเขียนร้อยแก้วทั้งบรรยายโวหารและพรรณาโวหารได้ไพเราะมาก ตั้งแต่เริ่มศึกษาในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตลอดระยะเวลา 4 ปี วนิดามีความเชี่ยวชาญในการแต่งร้อยกรองประเภทต่างๆ ได้รวดเร็วและไพเราะกินใจ สามารถใช้ภาษาง่ายๆ แต่ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ลึกซึ้งตามเจตนารมณ์ของผู้แต่ง
เมื่อจบการศึกษาอักษรศาสตร์บัณฑิต วนิดาได้เข้าทำงานในองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อสท.) โดยได้เป็นผู้หนึ่งในการจัดทำนิตยสาร อสท. เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ภาษาไทย วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศไทยสู่นานาประเทศ และเปิดโลกทรรศน์อันกว้างไกลของประเทศต่างๆ ให้คนไทยได้ศึกษาค้นคว้า ในขณะเดียวกันวนิดาได้เล่าเรื่องการท่องเที่ยวในสถานที่สำคัญต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ กล่าวถึงตำนานอธิบายประวัติความเป็นมา บรรยายความงดงามและสิ่งที่น่าสนใจ น่าศึกษา ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจใคร่จะไปเที่ยวชมสถานที่เหล่านั้นตามคำเชิญชวนในนิตยสารดังกล่าว
จากประสบการณ์ในเชิงอักษรศาสตร์ทั้งด้านความรู้ทางภาษาไทย ความสามารถในการแต่งร้อยกรองและร้อยแก้ว วนิดาได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นกรรมการตัดสินการประกวดเรียงความ ประกวดแต่งร้อยกรองในโอกาสวันสำคัญต่างๆ เช่น วันเด็ก วันพ่อ วันสุนทรภู่ เป็นต้น ปัจจุบันวนิดายังคงศึกษาค้นคว้าทางภาษาไทยและวรรณคดีไทย ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาทางด้านการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
เสนอโดย นางพิมพา บำรุงสุข
ดิฉันรู้จักและเป็นเพื่อนนักเรียนร่วมเรียนมากับ ดร.วรรณี ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนชั้นประถม จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 ที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ดร.วรรณีเป็นคนเรียนเก่ง สอบได้ที่ 1 ที่ 2 ของห้องมาตลอด และเมื่อสอบชั้นมัธยมปีที่ 8 ก็สอบได้เลขที่ลำดับต้นๆ ติด 1 ใน 50 คนของประเทศ เมื่อสอบเข้าคณะอักษรฯ จุฬาฯ ก็ได้เป็นอันดับแรกๆ ของผู้ที่สอบได้ และถูกคัดเลือกให้เรียนอยู่ในกลุ่ม A ของรุ่น เมื่อเรียนอยู่อักษรฯ ปีที่ 4 ก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสโมสรนิสิตจุฬาฯ โดยเป็น “นายกสมาคมนิสิตหญิงของ ส.จ.ม.” เมื่อเรียนจบในปี พ.ศ.2501 ได้รับเกียรตินิยมและได้รับรางวัล “สุภาพ จันทรโพธิ” เพราะได้รับคะแนนยอดเยี่ยมภาษาอังกฤษทางวรรณคดี
ดร.วรรณีสอบได้ทุน Fulbright ในปี พ.ศ.2505 ไปเรียนต่อจบ M.A. ที่ Brown University, Providence, Rhode Island ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัย Ivy League ของสหรัฐฯ เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีมาก รับเฉพาะผู้ที่สอบได้ Grades สูงๆ เท่านั้น จากนั้นในปี พ.ศ. 2516 ได้เรียนต่อ Ph.D. ทางคติชนวิทยาและมานุษยวิทยาที่ University of Pennsylvania และในปี พ.ศ.2524-2526 ได้เรียนต่อจนจบ Post-Doctoral ทางด้านมานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัย Harvard ที่ Boston, Massachusetts ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯและของโลก
ความสัมพันธ์ของ ดร.วรรณี กับคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
พ.ศ. 2502-2506 ได้รับคัดเลือกให้เป็นอาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ โดยศาสตราจารย์คุณหญิงนพคุณ ทองใหญ่ หัวหน้าภาควิชา
และเมื่อกลับมาประเทศไทยเป็นระยะๆ โดยได้รับทุนต่างๆ นั้น
พ.ศ. 2517 ได้เป็นอาจารย์พิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ช่วยบุกเบิกการสอนวิชาคติชนวิทยาในทั้งสองมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก เนื่องจากวิชานี้ยังเป็นวิชาที่ใหม่ในประเทศไทย ยังไม่ได้มีการสอนเป็นกิจจะลักษณะ
พ.ศ. 2528 อยู่ในคณาจารย์ที่เป็นทีมบุกเบิกการสอนระดับปริญญาโททางมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2552 เป็นอาจารย์พิเศษรับเชิญจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ให้มาสอนนักศึกษานานาชาติ International Graduate Program in Thai Studies
ตั้งแต่ พ.ศ.2553-ปัจจุบัน ได้จัดตั้งกองทุนสนับสนุนการวิจัยในพื้นที่สำหรับการเรียนวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทางคติชนวิทยาและ Thai Studies ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ความสัมพันธ์ของ ดร.วรรณี กับการศึกษาในประเทศไทย
พ.ศ.2528-2538 ได้เขียนโครงการเสนอองค์กร Save The Children Fund ในประเทศอังกฤษ และทางองค์กรได้มอบทุนการศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้แก่นักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมีผลการเรียนดีแต่ฐานะยากจน ปีละ 35 ทุนต่อเนื่องกันอยู่ 10 ปี โดยมีนักเรียนที่ได้รับทุนทั้งหมดจำนวน 350 คน
ผลงานหนังสือทางวิชาการ และตำราจากผลงานการวิจัยวัฒนธรรมและสังคมไทย
พ.ศ.2517 ได้รับรางวัลจาก International Folklore Association, University of Chicago รัฐ Illinois สำหรับวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เรื่อง “Children’s Play and Games in Rural Thailand” ซึ่งได้รับการจัดพิมพ์โดยสถาบันวิจัยสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ในปี พ.ศ.2523 แปลและพิมพ์ฉบับภาษาไทยในปี พ.ศ.2526 โดย Social Sciences and Humanity Textbook
พ.ศ.2531 เขียนตำราแนวการศึกษาคติชนวิทยาชื่อ “มิติใหม่ของคติชนวิทยา” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม
พ.ศ.2532 เป็นบรรณาธิการวารสารฉบับพิเศษ “Folklore and Folklife of Thailand” ซึ่งเป็นวารสาร Asian Folklore Studies ของมหาวิทยาลัย Nanzan ประเทศญี่ปุ่น นำเสนอนักวิชาการไทยจำนวน 5 คน
พ.ศ.2553 เขียนหนังสือ “Mapping Thai Muslims: Community Dynamics and Change on the Andaman Coast” จัดพิมพ์โดย Silkworm Press, เชียงใหม่
ผลงานของ ดร.วรรณี ในประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ.2527-2544 - เป็นอาจารย์สอนเกี่ยวกับ Folklore ที่ Brown University, Providence, Rhode Island
- มีตำแหน่งบริหารเป็นรองผู้อำนวยการ Center for the Studies of Race and Ethnology in America, Brown University
พ.ศ.2544-2559 - หลังจากเกษียณได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษทางมานุษยวิทยา Brown University จนถึงปัจจุบัน
- ดร.วรรณีได้รับทุนทางด้านมานุษยวิทยาและคติชนวิทยารวม 18 ทุน
- ได้เขียนหนังสือด้านวิชาการเกี่ยวกับการศึกษาวัฒนธรรม Asian American และสังคมของชนเผ่า Eskimo จำนวนทั้งหมด 5 เล่ม บทความทางวิชาการ 24 บทความ และเป็นกรรมการทุน National Science Foundation
พ.ศ.2558 - ได้รับรางวัล Richard A. Baewan สำหรับการศึกษาวิจัยวัฒนธรรมและสังคมของชาวเอสกิโม ในรัฐ Alaska และช่วยสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมและสังคมของชาวเอสกิโมให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ดร.วรรณี ปัจจุบันอายุ 80 ปี (เกิด 17 มกราคม พ.ศ.2479) พำนักอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกากับสามี Dr.Douglas Anderson ศาสตราจารย์ทางด้าน Anthropology ของมหาวิทยาลัย Brown
ดิฉันและเพื่อนอักษรฯ รุ่น 23 อีกหลายคนมีความเห็นตรงกันว่า ดร.วรรณี ควรได้รับการพิจารณาเป็นหนึ่งใน “อักษรจรัส” ของรุ่น เพราะถึงแม้จะพำนักอยู่ที่ประเทศสหรัฐฯ แต่ก็มีผลงานหลายอย่างที่ผูกพันกับสถาบันเก่า คือ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ได้ทำคุณประโยชน์ทางด้านการศึกษาให้แก่ประเทศไทยหลายประการ เธอประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานในต่างประเทศอย่างที่คนไทยน้อยคนจะทำได้ เป็นผู้ที่ต่อสู้ชีวิตและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ เป็นที่น่าชื่นชมยกย่องและเป็นตัวอย่างให้กับเยาวชนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดีในความอุตสาหะ บากบั่น และมานะพยายาม รวมถึงประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่คนไทยที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ และนำชื่อเสียงอันดีมาให้ประเทศไทย
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ฉัตรชัย พงศ์ประยูร จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะอักษรศาสตร์ และครุศาสตร์ จุฬาฯ ปริญญาโท สาขาภูมิศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยคลาร์ก เมืองวุร์สเตอร์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก สาขาภูมิศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นอิลลินอยส์ รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ฉัตรชัย เป็นอาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๓๙ และเป็นกรรมการตรวจตำราสังคมศึกษา ให้กับกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๓๕ และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖
ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านภูมิศาสตร์มนุษย์ อันประกอบด้วยวิชา แนวความคิดทางภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์เมือง และภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐานมนุษย์
ผลงานเขียนที่สำคัญของท่าน ได้แก่
เกียรติประวัติที่สำคัญของท่าน ได้แก่
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
Copyright 2025 The Faculty of Arts Chulalongkorn University