ดร. คุณหญิงอัมพร มีศุข
อบ.3
ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค มีนามเดิมว่า หม่อมหลวงมณีรัตน์ สนิทวงศ์ ป.ภ., ท.จ.ว., ภ.ป.ร. 1 (23 มิถุนายน พ.ศ. 2465-23 เมษายน พ.ศ. 2543) เป็นน้องสาวร่วมบิดามารดาเพียงคนเดียวของหม่อมหลวงบัว กิติยากร พระชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ท่านมีผลงานที่สร้างชื่อเสียงมากมาย อาทิเช่น เป็นผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยในเพลงพระราชนิพนธ์ ความฝันอันสูงสุด เพลินภูพิงค์ เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย แผ่นดินของเรา เตือนใจ ไร้เดือน เกาะในฝัน มาร์ชราชนาวิกโยธิน
หม่อมหลวงมณีรัตน์ สมรสกับนายสุรเทิน บุนนาค บุตรอำมาตย์ตรี พระพิศาลสุริยศักดิ์ (เทิน บุนนาค) และ นางผัน พิศาลสุริยศักดิ์ (สกุลเดิม สินธุสาร ) มีบุตรชาย 2 คน คือ พลตรีกรีเมศร์ บุนนาค และพันโทสุรธัช บุนนาค[1]
หม่อมหลวงมณีรัตน์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ จึงใช้คำนำหน้าท่านผู้หญิง
นายเปลื้อง ณ นคร
ป.ม. รุ่น 1 ( 2477)
คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง
อบ.3 ( 2477 )
อักษรศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2538
( คัดลอกประวัติจากวิกิพีเดีย )
คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง เกิดเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2458 เป็นนักเขียนชาวไทย อดีตบรรณาธิการนิตยสาร สตรีสาร อดีตนายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัมภ์ ได้รับรางวัลแมกไซไซ เมื่อปี พ.ศ. 2504 สาขาบริการประชาชน
นิลวรรณ ปิ่นทอง เกิดมาในครอบครัวข้าราชการชั้นผู้น้อย มารดาเสียชีวิตตั้งแต่เด็ก จบชั้นมัธยม 6 จากโรงเรียนเบญจมราชาลัยและเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ได้วุฒิป.ป. จากนั้นเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ (เป็นรุ่นที่ 4 ปี 2477) จบแล้วเป็นครู 1 ปี แล้วย้ายมารับราชการในกรมโฆษณาการอยู่ 9 ปี จึงลาออกมาทำงานด้านบรรณาธิกา เมื่อปี พ.ศ. 2491 เป็นบรรณาธิการนิตยสาร สตรีสาร และปี 2492 รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการอีก 2 เล่มคือ ดรุณสาร สำหรับเยาวชน และ สัปดาห์สาร สำหรับเรื่องข่าวสาร นิตยสารสตรีสาร ได้รับรางวัลพระเกี้ยวทองคำ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนิตยสารส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น เมื่อปี พ.ศ. 2530 จนดำเนินการถึงปี 2539 จึงได้ปิดตัวลงไป
นอกจากนั้นนิลวรรณ ยังเคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัมภ์ เคยได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการประชาชน จากมูลนิธิแมกไซไซ ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2505 และได้รับปริญญา อักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) เมื่อปี 2517 ยังได้รับการโปรดเกล้าฯ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เปลี่ยนคำหน้านามเป็น "คุณ" (อันเป็นคำนำนามระดับชั้นเดียวกับสุภาพสตรีระดับ “คุณหญิง” แต่ใช้สำหรับสตรีที่มิได้สมรส) ปัจจุบันยังทำงานให้สมาคมสตรีอุดมศึกษา โดยก่อตั้งกลุ่มนักอ่านคัดเลือกหนังสือเพื่อพัฒนาตนขึ้น
ศาสตราจารย์ คุณหญิงกุหลาบ มัลลิกะมาส
อบ.5
ศาสตราจารย์ คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร
อบ.5
ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา
ป.ม. รุ่น 4 (2474)
เรียนที่โรงเรียนปทุมคงคาช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๔ เลขประจำตัว ๓๖๗๓
ชีวิตวัยเด็ก
เกิดวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ปัจจุบันอายุ ๘๑ ปี เป็นบุตรของนายไพบูลย์ พงศะบุตร และ
นางบุญช่วย พงศะบุตร สมรสกับ ดร.วิลาสวงศ์ พงศะบุตร มีบุตรธิดารวม ๒ คน
การศึกษา
สำเร็จชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนพงษ์เวชอนุสรณ์
สำเร็จชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนปทุมคงคาและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย
สำเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี สาขาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ และ
มหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. ๒๔๘๓ อาจารย์ตรี ในวิทยาลัยฝึกหัดครูพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๔๙๔ โอนไปเป็นอาจารย์โทในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๑๖ – ๒๕๑๘ ดำรง ตำแหน่งคณบดีคณะอักษรศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์
พ.ศ. ๒๕๑๑ รองศาสตราจารย์
พ.ศ. ๒๕๑๔ ศาสตราจารย์
พ.ศ. ๒๕๓๒ - ๒๕๓๖ ตำแหน่งรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
พ.ศ. ๒๕๓๗ - ๒๕๔๑ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ผลงานที่น่าภูมิใจ
ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นอาจารย์และผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษาเป็นเวลานานกว่า ๕๐ ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนการสอนวิชาภูมิศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมให้เจริญก้าวหน้า โดยได้แต่งและเรียบเรียงตำรา และบทความทางวิชาการเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ออกเผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีส่วนร่วมในการจัดตั้งสมคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ และคณะกรรมการชื่อภูมิศาสตร์แห่งชาติ นอกจากนี้ ยังริเริ่มโครงการอบรมมัคคุเทศก์ และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในด้านการจัดอบรมมัคคุเทศก์ ตลอดระยะเวลายาวนานกว่า ๓๐ ปี
เกียรติคุณที่ได้รับ
ได้รับรางวัลในฐานะผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์อย่างยิ่งแก่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชบัณฑิตภูมิศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานเข็มพระเกี้ยวทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะนิสิตเก่าดีเด่นของคณะอักษรศาสตร์จุฬาฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับพระราชทานปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อพ.ศ. ๒๕๔๑ และได้รับโล่เกียรติยศนักเรียนเก่าผู้สร้างชื่อแก่โรงเรียนปทุมคงคา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหามงกุฎวชิรมงกุฎ เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๖ และมหาปรมาภรณ์ ช้างเผือก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑
ชีวิตปัจจุบัน
ดำรงตำแหน่งเลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน ตั้งแต่เมษายน ๒๕๔๒ เป็นต้นมา และปฏิบัติหน้าที่ประธานคณะกรรมการทำอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ และประธานคณะกรรมการทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากลของราชบัณฑิตยสถาน เป็นประธานคณะอนุกรรมการวางมาตรฐานชื่อภูมิศาสตร์แห่งชาติ ของกรมแผนที่ทหาร เป็นกรรมการบริหารโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นอนุกรรมการข้าราชการครู ( อ.ก.ค. ) วิสามัญเกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการของกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
หลักปฏิบัติที่ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต
ยึดมั่นในหลักคุณธรรมและจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความซื่อสัตย์สุจริต ความมานะบากบั่นไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคทั้งปวง ตลอดจนการมีหิริโอตัปปะ และพรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมในการดำรงชีวิต
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
Copyright 2025 The Faculty of Arts Chulalongkorn University