อักษรจรัส รุ่น 67

วรรณพร โปษยานนท์

อักษรจรัส อบ.67

ชื่อ-นามสกุล :วรรณพร( ดวง )โปษยานนท์ (ภูมิจิตร)


การศึกษา
ชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย (สอบเทียบ)
ปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ เอกภาษาอิตาเลียน - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโท สาขาการจัดการและโปรโมตแฟชั่น สถาบันมารังโกนี ประเทศอิตาลี


การทำงาน
เป็นผู้ประสานงานแฟชั่น เอมิลิโอ ปุชชี่ ณ เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี, ฝ่ายการตลาดประชาสัมพันธ์ เอมิลิโอปุชชี่ และ คริสเตียน ลาครัวส์ประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร ฮาร์เปอร์ส บาซาร์ ประเทศไทย (Harper's Bazaar Thailand)
ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลการศึกษาสถาบันแฟชั่น Marangoni และ โรงเรียนภาษาLinguaviva Information Center ประเทศไทย
ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลการศึกษาสถาบันออกแบบโดมุส (Domus Italy)
ทำธุรกิจเสื้อผ้าเด็กแบรนด์ 'Rhapsody' และธุรกิจกระเป๋าและเครื่องประดับแฟชั่นแบรนด์ ‘Rouge Rouge’


จากความหลงใหลที่มีต่อแฟชั่นและนิตยสารต่างประเทศตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น ทำให้เธอสนใจที่จะศึกษาภาษาต่างประเทศเป็นพิเศษ เธอเริ่มต้นสานต่อความฝันของตัวเองด้วยการสอบเทียบข้ามชั้นจากโรงเรียนมาแตร์ เดอี เข้าคณะอักษรศาสตร์ เอกภาษาและวัฒนธรรมอิตาลี โท อังกฤษและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก่อนที่จะไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ประเทศอิตาลีด้าน Fashion Promotion and Communication เธอจบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 จากสถาบันแฟชั่นมารังโกนี่( Istituto Marangoni) สาขามิลาน ประเทศอิตาลีในปี ค.ศ. 2004 หลังจบการศึกษาเธอได้รับเลือกเป็นผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลการศึกษาสถาบันการออกแบบและแฟชั่นมารังโกนี่ ( Istituto Marangoni)และสถาบันออกแบบชื่อดังจากอิตาลีโดมุส (Domus Academy) ประจำประเทศไทยตั้งแต่ปลายปี ค.ศ.2004 เป็นต้นมา
นอกจากการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลการศึกษาให้กับสถาบันการศึกษาที่มีชื่ิอเสียงถึงสองแห่งในอิตาลี เธอยังทำงานในสายแฟชั่นควบคู่กันไป ด้วยการเริ่มต้นทำงานฝ่ายประชาสัมพันธ์ให้กับ เอมิลิโอปุชชี่ ประเทศไทย ก่อนที่จะเริ่มทำธุรกิจเสื้อผ้าเด็กแบรนด์ 'Rhapsody' และธุรกิจสินค้าแฟชั่นแบรนด์ ‘Rouge Rouge’ งานออกแบบแฟชั่นไอเท็มส์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากศิลปะเหนือจริง (Surrealism) ที่เธอชื่นชอบ เส้นทางในสายแฟชั่นของเธอชัดเจนและโดดเด่นมากขึ้นเมื่อได้ก้าวมาดำรงตำแหน่งบรรณาธิการบริหารให้แก่นิตยสารฮาร์เปอร์ส บาซาร์ ประเทศไทยในปี ค.ศ. 2012 เธอได้ริเริ่มโครงการเฟ้นหาดีไซเนอร์หน้าใหม่เพื่อมาประดับวงการแฟชั่นในแคมเปญ 'Bazaar Asia New Gen Fashion Designer Award' โดยที่โครงการนี้ประสบความสำเร็จในระดับภูมิภาคเอเชียมีผู้ร่วมแข่งขันในแคมเปญรวมสี่ประเทศ คือ ไทย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และเวียดนาม ความสำเร็จจากแคมเปญนี้ได้ต่อยอดขึ้นเรื่อยๆในปีหน้าจะมีผู้เข้าร่วมแข่งขันเพิ่มอีกสองประเทศ
เธอมีความตั้งใจที่จะพัฒนานิตยสารของประเทศไทยให้มีความเป็นสากลทัดเทียมกับนิตยสารต่างประเทศทั่วโลกทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล มากไปกว่านั้นเธอยังให้ความสำคัญกับงานออกแบบฝีมือดีไซเนอร์คนไทย และพร้อมสนับสนุนให้นักออกแบบเหล่านั้นมีพื้นที่ในการแสดงตัวตนและผลงานมากขึ้น ถึงแม้จะต้องทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันเธอก็ตั้งใจทำให้สุดความสามารถในทุกด้านเพราะเธอเชื่อว่า "LIVE LIFE TO THE FULLEST".

 Duang Poshyanonda, Editor-in-Chief of Harper’s BAZAAR Thailand, is widely recognized as an energizing, ambitious and one of the most famous fashionable people in Thailand. Before she reigns Harper’s BAZAAR, she went to the top university of Thailand, Chulalongkorn University, majoring in Italian language and continued her master degree at Istituto Marangoni Milan, where she received, in 2004, first-class honor in Fashion Promotion. With her excellence, Duang was chosen to be the marketing consultant of Istituto Marangoni Milan and was later become the director of Istituto Marangoni Educational Center in Thailand, which gave rise to her role as one of the most successful alumni of Istituto Marangoni worldwide. Along the time, she was also a buyer coordinator for the most renowned Italian fashion brands like Emilio Pucci in Milan and later a PR & Marketing Executive for Emilio Pucci and Christian Lacroix in Thailand.

In 2010, with her interest in fashion and design, Duang launched her own bag brand called Rouge Rouge, which has been inspired from her best-loved art movement, Surrealism, artists like Salvador Dali, Rene Magritte and absolutely fashion cities that she had visited like Milan and Paris. RR famous items include Dali Eye clutch, CMRR Bomb bag and Dali Lips clutch, which has been developed from her own signature scarlet lips. She also releases more limited edition of RR iPhone case, Dali Eye cap and RR sweater that plays with typography and so on.

Another significant milestone of her career is when she has become the Editor-in-Chief of Harper’s BAZAAR Thailand. She is known as the youngest, yet most active, ‘in-chief’ among fashion magazines in Thailand. Her work has impressively boosted up the reputation of Harper’s BAZAAR Thai edition; one of her most notable project is called ‘Harper’s BAZAAR Asia New Generation Fashion Designer Awards,’ which is the collaboration among Harper’s BAZAAR from 5 countries and will be more. The competition aims at searching for the young rising-star designer to feed the new creativity to the fashion industry in regional scale. And due to her success, Duang then has a chance to speak about the project at the Harper’s BAZAAR Global Conference in Paris last year, which received many interest from other editions; the feedback foresees the project’s expansion in wider scale. Her great passion and hard-working discipline, thus, result in the progress of Harper’s BAZAAR Thailand, which will be constantly moving forward to the challenging future.

วรางคณา ชมชื่น

วรางคณา ชมชื่น (หวาน ) อักษรจรัส อบ.67

เมื่อคิดย้อนกลับไป ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าอยากทำงานด้านสื่อสารมวลชนตั้งแต่เมื่อไหร่ หรือได้แรงบันดาลใจมาจากไหน รู้แต่ว่าตัวเองก็เหมือนเด็กอักษรฯ หลาย ๆ คน ที่ชอบขีดเขียนส่งสารให้คนอื่นได้อ่านได้ฟัง หลังจากเรียนจบก็พยายามสมัครงานกับสื่อไทยตลอด แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่เคยมีใครเรียกไปสัมภาษณ์เลยจนคิดว่าอาจจะต้องทำงานประจำที่ทำอยู่ไปเรื่อย ๆ วันหนึ่งได้รับการติดต่อจากสถานีโทรทัศน์ NHK ซึ่งเป็นสื่อสาธารณะของประเทศญี่ปุ่นที่เคยสมัครไว้พักใหญ่ ๆ แล้ว มิกิ เอบาระ บก.สาวในขณะนั้นและหญิงเก่งแห่ง NHK ถามว่ายังสนใจอยู่ไหม รีบตอบกลับไปว่าสนใจมาก วันที่ไปสัมภาษณ์ไม่คิดว่าจะได้ อะไรที่ในตำราห้าม เราทำหมดทุกอย่าง ตั้งแต่หลงทาง ไปสาย ไม่ศึกษาเส้นทาง แถมเมื่อ บก. ถามว่าในแต่ละวันอ่านข่าวอะไรก่อน ยังตอบไปอย่างสัตย์ซื่อเต็มปากเต็มคำว่า ข่าวบันเทิงไทยรัฐ นับถือในความกล้าของ บก. จริง ๆ ที่รับเข้ามา

การทำงานที่ NHK ถือเป็นความท้าทายอย่างใหญ่หลวง เพราะต้องเรียนรู้ทุกอย่างใหม่หมด ไม่ว่าจะเป็นทำงานกับชาวญี่ปุ่นซึ่งมีระเบียบวินัยมาก การจับประเด็นข่าว การสัมภาษณ์ การประสานงาน และการนำเสนอข่าว (ได้รายงานข่าวผ่านหน้ากล้องครั้งแรกในชีวิตก็ตอนนั้น ผ่านช่อง NHK World) ตลอดจนหลักจรรยาบรรณการเป็นนักข่าวที่ดี ได้มีโอกาสทำข่าวที่หลากหลายยากง่ายต่างกัน ตั้งแต่ มหันตภัยสึนามิในปี 2547 การลักลอบค้ามนุษย์และเด็กหญิง ไข้หวัดนก ไปจนถึงการประท้วงขับไล่ทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ระหว่างนั้นเองด้วยความที่อยากจะหาประสบการณ์ชีวิตและเรี ยนรู้เรื่องการทำข่าวให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ก็ได้สมัครชิงทุนฟุลไบร้ท์ ซึ่งหลังจากได้ทุนแล้วก็สมัครเข้าเรียนที่ Columbia University ในมหานครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย Ivy League ของสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ หลังจากเรียนจบก็กลับประเทศไทย มาสมัครงานที่สถานีโทรทัศน์ NBC ของสหรัฐอเมริกาที่สำนักงานกรุงเทพฯ โดยทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ข่าว การทำงานที่นี่ก็ทำให้ได้เปิดหูเปิดตากว้างขึ้น ภารกิจการทำข่าว การทำสกู๊ปพิเศษ ได้พาเราไปยังนานาประเทศ ตั้งแต่อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี ไปจนถึงหมู่เกาะไซปันในมหาสมุทรแปซิฟิค เนื้องานเองก็หลากหลาย เรียกว่าจ้างพนักงานชาวไทยคนนี้คนเดียว ทำได้ตั้งแต่เป็นโปรดิวเซอร์ ล่าม นักข่าว ตากล้อง ตัดต่อ เขียนบทให้กับ msnbc.com สื่อออนไลน์ในเครือ NBC อีกด้วย สี่ปีต่อมาก็ไปสมัคร The Wall Street Journal Asia Fellowship ซึ่งเป็นทุนร่วมของ Dow Jones Foundation และ New York University ที่มอบให้กับผู้สื่อข่าวจากเอเชียปีละหนึ่งคน เพื่อไปเรียนปริญญาโทด้านการทำข่าวธุรกิจและเศรษฐกิจที่ New York University เป็นเวลา 3 ภาคการศึกษา เหตุผลหนึ่งที่สมัคร เพราะคิดมาตลอดว่าข่าวธุรกิจและเศรษฐกิจเป็นข่าวที่เข้าใจยากและไกลตัว เลยอยากทำความเข้าใจและเข้าใกล้มากขึ้น แอบทำใจว่าคงจะไม่ได้ เพราะนักเรียนทุนคนก่อน ๆ มักจะมาจากประเทศจีน สิงคโปร์ หรืออินเดียเสียเป็นส่วนใหญ่ พอได้แล้วก็ดีใจมาก กลับไปเรียนครั้งนี้ ต้องลงเรียนวิชาพื้นฐานของ MBA อยู่ 6 วิชา ที่สร้างความพิศวงงงงวยให้กับนักข่าวสายทั่วไปและอดีตเด็กอักษรฯ รักคณิตศาสตร์อย่างเราเป็นที่สุด เป็นครั้งแรกที่สอบตก midterm ได้คะแนนเป็นที่โหล่ของชั้น ลืมไม่ลงเลยจริง ๆ แต่ที่สุดก็ฝ่าฟันมาได้ด้วยการอ่านหนังสือ ทำการบ้าน และเสนอหน้ากับอาจารย์ที่ปรึกษาให้มากๆ เพื่อให้เห็นว่าตั้งใจ ถึงแม้ว่าเวลาตอบอะไรก็ผิดไปหมดก็ตาม

ระหว่างที่เรียนก็ได้ไปเป็นเด็กฝึกงานที่ The Wall Street Journal ในนิวยอร์กอยู่ 10 สัปดาห์ก่อนที่จะเข้าไปช่วยงานบ้างหลังจากนั้นเป็นระยะๆ เรียนจบได้สามเดือน ทาง The Wall Street Journal สำนักงานกรุงเทพฯ มีตำแหน่งเปิดพอดี ก็ได้รับการชักชวนมาให้กลับมาทำข่าวที่บ้านเกิด ซึ่งเป็นช่วงที่พายุการเมืองกำลังตั้งเค้าในรัฐบาลของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตั้งแต่เรื่องการจำนำข้าวไปจนถึงการผ่านกฎหมายนิรโทษกรรม ที่นำไปสู่การชุมนุมประท้วงและการทำรัฐประหารในที่สุด หลังจากนั้นไม่กี่เดือน ทางบริษัทก็เสนอให้ย้ายไปทำงานด้านวีดีโอซึ่งเป็นสื่อที่มีผู้เสพมากขึ้น ทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่องงานข่าวที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น การอพยพทางเรือของชาวโรฮิงยา การเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ในพม่า และสงครามยาเสพติดของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ โรดริโก้ ดูเตอร์เต้

รู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนเล็ก ๆ ขององค์กรสื่อใหญ่องค์กรหนึ่งของโลกในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารจากประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคให้กับผู้อ่านทั่วโลก ถึงแม้บางครั้งการจะได้มาซึ่งข้อมูล ข่าวสาร และความจริง ๆ หลาย ๆ อย่างจะต้องแลกมาด้วยชั่วโมงการกิน การนอน การพบเพื่อนที่น้อยลง และจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นของคนที่ไม่อยากรับโทรศัพท์ หรือตอบคำถามจากเราก็ตาม

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

Copyright 2024 The Faculty of Arts Chulalongkorn University