ขอเชิญทุกท่านร่วมงานเสวนา Russian Chula Talks EDUCATION พูดคุยกับคุณรัชตินท์ วรานุจิตต์ ในหัวข้อ “การศึกษาระดับอนุบาลในประเทศรัสเซีย”

สาขาวิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ ศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญทุกท่านร่วมงานเสวนา Russian Chula Talks EDUCATION พูดคุยกับคุณรัชตินท์ วรานุจิตต์ ในหัวข้อ “การศึกษาระดับอนุบาลในประเทศรัสเซีย” ในวันพุธที่ 1 กันยายน 2564 เวลา 11.00 น. ดำเนินรายการโดย อ. ดร.อังสนา เรืองดำ ติดตามรายละเอียดได้ทางเพจ สาขาวิชาภาษารัสเซีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมวงสนทนา โรงเล่า Ep.11 ในหัวข้อ “ไตรเทวี vs Tridivas”

สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมวงสนทนา โรงเล่า Ep.11 ในหัวข้อ “ไตรเทวี vs Tridivas” ร่วมวงเล่าโดย อ.อธิพงษ์ อมรวงศ์ปีติ พร้อมขาประจำโรงเล่าเจ้าเก่า ผศ. ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว อ. ดร.บุณฑริกา บุญโญ วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม 2564 เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป พบกันที่เดิมทาง LIVE บนหน้าเพจสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้

ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมวงสนทนาถึงนัยยะ “การมองโลกในแง่ดี” ในบริบทสังคมร่วมสมัย ในหัวข้อ “เมื่อไฟลามทุ่ง ลาเวนเดอร์: แนวคิดการมองโลกในแง่ “ดีดี๊ดี” ที่ “ร้ายเหลือทน” ของ Lauren Berlant

ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับเพจ REVIEW เวิ่น ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมวงสนทนาถึงนัยยะ “การมองโลกในแง่ดี” ในบริบทสังคมร่วมสมัย ในหัวข้อ “เมื่อไฟลามทุ่ง ลาเวนเดอร์: แนวคิดการมองโลกในแง่ “ดีดี๊ดี” ที่ “ร้ายเหลือทน” ของ Lauren Berlant ในวันเสาร์ที่ 28 สิงหาคมนี้ เข้าถึงได้สองช่องทางที่ Facebook Page Review เวิ่น และเพจ CompLit Chula เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป โดยแขกรับเชิญในครั้งนี้ ได้แก่ อ. ดร.ชัยรัตน์ พลมุข อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “จะมาชวนลองตั้งคำถามกันว่า ในด้านหนึ่ง แม้ว่าการใช้ชีวิตตั้งเป้าหมายที่จะไปให้ถึง แนวคิด “ชีวิตที่ดี” รวมถึงตั้งรับประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาในแง่ดี ดูเป็นหนทางที่จะทำให้ชีวิต “สงบสุข” และนำไปสู่ “ชีวิตดี ๆ […]

โครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม ประจำเดือนสิงหาคม ในหัวข้อ “การเรียนการสอนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศในยุคดิจิทัล”

ในวันที่ 23 สิงหาคม เวลา 14.00-15.30 น. คณะอักษรศาสตร์ได้จัดโครงการบรรยายพิเศษ อักษรศาสตร์สู่สังคม ผ่านโปรแกรมซูม (Zoom) ในหัวข้อเรื่อง “การเรียนการสอนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศในยุคดิจิทัล”…

ขอเชิญทุกท่านร่วมงานเสวนาออนไลน์ ในหัวข้อ “การศึกษาในประเทศรัสเซีย”

สาขาวิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Russkiy Mir Foundation ขอเชิญทุกท่านร่วมงานเสวนาออนไลน์ ในหัวข้อ “การศึกษาในประเทศรัสเซีย” ซึ่งจะออกอากาศทุกวันพุธ ตลอดเดือนกันยายน 2564 เริ่มวันพุธที่ 1 กันยายน 2564 เวลา 11.00 น. ดำเนินรายการโดย อ. ดร.อังสนา เรืองดำ ติดตามรายละเอียดได้ที่เพจ สาขาวิชาภาษารัสเซีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลงานหนังสือ พรรณไม้และบทบาทของพรรณไม้ในวรรณกรรมของสุนทรภู่ ผลงานวิจัยเรื่องล่าสุดของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ราชบัณฑิต อาจารย์อาวุโสภาควิชาภาษาไทย

ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ ขอนำเสนอผลงานหนังสือ พรรณไม้และบทบาทของพรรณไม้ในวรรณกรรมของสุนทรภู่ ผลงานวิจัยเรื่องล่าสุดของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ราชบัณฑิต…

ขอเชิญทุกท่านรับชมรายการภาษารัสเซียสู่สังคม โดยสาขาวิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์

สาขาวิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์รัสเซียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญทุกท่านรับชมรายการภาษารัสเซียสู่สังคม เผยแพร่เรื่องราวที่น่ารู้เกี่ยวกับประเทศรัสเซียในหัวข้อต่าง ๆ…

ผลงานของนิสิตในรายวิชาวรรณคดีนิทาน เรื่อง “Take me out , Thai Lit: บทวิเคราะห์การเลือกคู่ครองของหญิงไทยในอดีตผ่านวรรณคดีศึกษา”

ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเพจ Vespada Academy ขอนำเสนองานเรื่อง “Take me out , Thai Lit: บทวิเคราะห์การเลือกคู่ครองของหญิงไทยในอดีตผ่านวรรณคดีศึกษา”…

ขอแสดงความยินดีกับนิสิตที่เข้าแข่งขันโครงการความเป็นเลิศทางภาษาฝรั่งเศสระดับอุดมศึกษา จัดโดยภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตที่เข้าแข่งขันโครงการความเป็นเลิศทางภาษาฝรั่งเศสระดับอุดมศึกษา จัดโดยภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดังนี้…

ชวนอ่านสรุปความจากโครงการบรรยายพิเศษปรัชญาสู่สาธารณะครั้งที่ 4 หัวข้อ “ความเจ็บป่วยและเงื่อนไขแห่งกรรมตามทัศนะปรัชญาพุทธเถรวาท”

ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญชวนทุกท่านอ่านสรุปความจากโครงการบรรยายพิเศษปรัชญาสู่สาธารณะครั้งที่ 4 หัวข้อ “ความเจ็บป่วยและเงื่อนไขแห่งกรรมตามทัศนะปรัชญาพุทธเถรวาท” โดย อาจารย์ ดร.ใกล้รุ่ง อิโซ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.เฉลิมวุฒิ วิจิตร (สาขาวิชาสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ คณะศิลปศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์) เมื่อวันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2564 เวลา 19.00-21.00 น. ที่ผ่านมา ดูคลิปย้อนหลังได้ ที่นี่

เชิญชมภาพวิดิโอย้อนหลังการเสวนาวิวาทะแบบเป็นกันเองในชื่อตอนว่า “เสียงรถลากจากหุบเขาอุบาสุเทะ ตำนานทิ้งคนชรา : จากเรื่องเล่าปรัมปราสู่งานละครเวที”

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม 2564 เวลาสองทุ่มที่ผ่านมา เพจ REVIEW เวิ่น ร่วมกับ CompLit Chula ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ อักษรฯ จุฬาฯ ได้ร่วมล้อมวงเสวนาวิวาทะแบบเป็นกันเองในชื่อตอนว่า “เสียงรถลากจากหุบเขาอุบาสุเทะ ตำนานทิ้งคนชรา : จากเรื่องเล่าปรัมปราสู่งานละครเวที” กับ ครูเจี๊ยบ (ผศ. ดร.ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร, นิเทศฯ จุฬาฯ) ผู้กำกับละคร และ ครูกอล์ฟ (ดร.สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์, เจ้าของผลงานบทละครโทรทัศน์ นาคี และ พิภพหิมพานต์) ผู้เขียนบทละคร ดำเนินรายการโดย เต้ อลิส และโบ๋ เจ้าเก่า 姥捨て “อุบาสุเทะ” หรือ “โอบาสุเทะ” ปรัมปรานิทานเก่าแก่ของญี่ปุ่น เล่าเรื่องราวของธรรมเนียมที่ลูกหลานพาแม่ที่แก่เฒ่าไปทิ้งไว้บนหุบเขาให้ดำเนินวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างเดียวดาย ถูกจับนำมาประยุกต์เล่าใหม่ให้สร้างสรรค์ ในละครเวทีเรื่อง “เสียงรถลากจากหุบเขาอุบาสุเทะ” สวมใส่บริบทร่วมสมัยให้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำรงอยู่ร่วมกันกับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังมีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิต ต่อความคิด และความสัมพันธ์ของเราทุกคนในปัจจุบันมากขึ้นเรื่อย ๆ รับชมวิดิโอย้อนหลังได้ […]

เชิญชวนร่วมกิจกรรมรายการสัมมนาบัณฑิตศึกษาของภาควิชาประวัติศาสตร์ ประจำภาคการศึกษาต้น 2564 ในโครงการบรรยายออนไลน์ชุด “สิงสาราสัตว์ในประวัติศาสตร์การทูตโลก”

ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมกิจกรรมรายการสัมมนาบัณฑิตศึกษาของทางภาควิชา ประจำภาคการศึกษาต้น 2564 ในโครงการบรรยายออนไลน์ชุด “สิงสาราสัตว์ในประวัติศาสตร์การทูตโลก” ติดตามรายละเอียดได้ทางเพจ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

มอบเงินจำนวน 100,500 บาทแก่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมทบโครงการจัดทำกล่องยาและเวชภัณฑ์เพื่อส่งมอบผู้ป่วยโรคโควิด-19

วันที่ 6 สิงหาคม ปี 2564 รศ. ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์รศนาภรณ์ วีรวรรณ ในฐานะผู้แทนคณาจารย์ บุคลากร ศิษย์คณะอักษรศาสตร์ และผู้มีจิตศรัทธา ได้มอบเงินจำนวน 100,500 บาทแก่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมทบโครงการจัดทำกล่องยาและเวชภัณฑ์เพื่อส่งมอบผู้ป่วยโรคโควิด-19 …