คณะอักษรศาสตร์มอบกระเช้าร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566 คณะอักษรศาสตร์ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรวัฒน์ ธีรพจนี รองคณบดี (รับผิดชอบงานด้านวางแผนและพัฒนา) มอบกระเช้าร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ บริเวณโถงหน้าอาคารจุฬาพัฒน์ 7

เปิดรับสมัครทุนอุดหนุนการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1

งานกิจการนิสิต คณะอักษรศาสตร์ เปิดรับสมัครทุนอุดหนุนการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย ประจำปีการศึกษา 2566 นิสิตที่มีความประสงค์สมัครทุนการศึกษาดังกล่าว สามารถสมัครได้ ผ่านการแสกน QR Code ที่ปรากฏในภาพสื่อประชาสัมพันธ์นี้ สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ e-mail : artschula.scholarship@gmail.com

ขอแสดงความยินดีแก่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลลิตา หาญวงษ์

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลลิตา หาญวงษ์ อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 69 ได้รับแต่งตั้ง…

คณบดีคณะอักษรศาสตร์มอบกระเช้าร่วมแสดงความยินดี และอวยพรเนื่องในโอกาสครบรอบ 85 ปี แห่งการสถาปนาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม 2566 เวลา 8.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มอบกระเช้าร่วมแสดงความยินดี และอวยพรเนื่องในโอกาสครบรอบ 85 ปี แห่งการสถาปนาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ CBS Lounge ชั้น 1 อาคารอนุสรณ์ 50 ปี

เปิดตัวคลังข้อมูลภาคสนามภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn Linguistic Fieldwork Archive

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ChulaSEAL) เปิดตัวคลังข้อมูลภาคสนามภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn Linguistic Fieldwork Archive) ด้วยชุดข้อมูลภาคสนามของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ ผู้เชี่ยวชาญด้านสัทศาสตร์ ภาษาศาสตร์ภาคสนาม ศาสตร์การทำพจนานุกรม และภาษากลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชุดข้อมูลนี้ประกอบไปด้วยบันทึกภาคสนามลายมือเขียนตลอดเส้นทางการวิจัยของศาสตราจารย์ ดร.ธีระพันธ์ ประกอบไปด้วยข้อมูลภาษาทุกตระกูลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ตระกูลขร้า-ไท ออสโตรเอเชียติก จีน-ทิเบต ม้ง-เมี่ยน และออสโตรนีเซียน English version: https://www.arts.chula.ac.th/…/official-launch-of-the…/ ผู้สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลภาคสนามของสมาชิกประชาคมภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ที่ https://www.arts.chula.ac.th/chulaseal/resources/

งานฉายภาพยนตร์และเสวนาหลังฉายภาพยนตร์เรื่อง Cosy Dens (Pelíšky)

คณะนิเทศศาสตร์ และ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กประจำประเทศไทย ขอเชิญชวนท่านผู้สนใจมาร่วมงานฉายภาพยนตร์และเสวนาหลังฉายภาพยนตร์เรื่อง Cosy Dens (Pelíšky) ภาพยนตร์ปี 1999 ผลงานกำกับของ ญาน ฮเชรเบย์ก งานนี้จัดเนื่องในโอกาสครบรอบ 55 ปี เหตุการณ์การบุกครองเชโกสโลวาเกียของฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอ วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เวลา 16.00 น.ณ หอประชุม ดร.เทียม โชควัฒนาชั้น 4 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำหนดการ16.00-16.30 น. ลงทะเบียน16.30-17.00 น. งานนี้เป็นงานสาธารณะ ท่านสามารถลงทะเบียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

รองคณบดีฝ่ายวิชาการต้อนรับคณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง

วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม 2566 เวลา 8.30 – 10.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ต้อนรับคณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง ในโอกาสเข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับหลักสูตร การรับเข้าศึกษาต่อ และกิจกรรมเสริมหลักสูตรของคณะอักษรศาสตร์ ซึ่งการเข้าศึกษาดูงานฯ ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้คณะครูและนักเรียนนำความรู้ที่ได้มาใช้เพื่อบูรณาการสำหรับการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

การประชุมนานาชาติว่าด้วยภาษาและภาษาศาสตร์จีน-ทิเบต (ICSTLL) ครั้งที่ 56

ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน การประชุมนานาชาติว่าด้วยภาษาและภาษาศาสตร์จีน-ทิเบต (ICSTLL) ครั้งที่ 56 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-12 ตุลาคม 2566 ณ อาคารมหาจักรีสิรินธร ในงานนี้มีนักวิชาการจากนานาประเทศมาร่วมรับฟังการนำเสนอการค้นคว้างานวิจัยและเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านภาษาศาสตร์ที่เน้นเรื่องตระกูลภาษาจีน-ทิเบต เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความร่วมมือทางวิชาการ และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาษาในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ที่ครอบคลุมภาษากว่า 400 ภาษา ตลอดจนยกย่องถึงความหลากหลายทางภาษาที่กว้างขวาง และความสำคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

งานฉายภาพยนตร์และเสวนาหลังฉายภาพยนตร์เรื่อง The Joke เรื่องตลก

เมื่อวันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2566 ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การแปล การล่าม และการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม และหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิตสาขาภาษาและวัฒนธรรม (หลักสูตรนานาชาติ) ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กประจำประเทศไทย และ สำนักพิมพ์บทจร จัดงานฉายภาพยนตร์และเสวนาหลังฉายภาพยนตร์เรื่อง The Joke [เรื่องตลก] (1969) ภาพยนตร์ผลงานกำกับของยาโรมิล ยิเรช ดัดแปลงจากนวนิยายของมิลาน คุนเดรา ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร งานนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชีวิตและผลงานของมิลาน คุนเดรา และเนื่องในโอกาสครบรอบ 55 ปี เหตุการณ์การบุกครองเชโกสโลวาเกียของฝ่ายกติกาสัญญาวอร์ซอ นอกจากนี้ นวนิยายเรื่อง The Joke เป็นตัวบทที่นิสิตอ่านเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 2202344 Contemporary World Literature in English หลักสูตรของภาควิชาภาษาอังกฤษ อีกด้วย

ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ อ.บ. รุ่น 38 และปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ปี 2565

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับนักแปลเพื่อการนิติกรณ์เอกสาร

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 ศูนย์บริการวิชาการคณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับนักแปลเพื่อการนิติกรณ์เอกสาร ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้ารว่มอบรมฯ รู้จักและเข้าใจถึงประเภทเอกสาร คำศัพท์ที่ใช้ในงานนิติกรณ์เอกสาร หลักการแปลที่ถูกต้องเพื่อการนิติกรณ์เอกสาร และร่วมกันทำเวิร์กชอปการแปลที่ถูกต้อง

คณบดีคณะอักษรศาสตร์ พร้อมด้วยคณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีแด่อาจารย์คริส เบเคอร์

รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ พร้อมด้วยคณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีแด่อาจารย์คริส เบเคอร์

คณบดีคณะอักษรศาสตร์ต้อนรับท่านนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและคณะ

เมื่อวันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ได้ต้อนรับท่านนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

งาน “เทวาลัย ใจผูกพัน” แด่คณาจารย์และบุคลากรคณะอักษรศาสตร์ในโอกาสเกษียณอายุราชการและอายุงาน ประจำปี 2566

เมื่อวันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566 คณะอักษรศาสตร์ได้จัดงาน “เทวาลัย ใจผูกพัน” เพื่อแสดงมุทิตาจิตแด่คณาจารย์และบุคลากรคณะอักษรศาสตร์ในโอกาสเกษียณอายุราชการและอายุงาน ประจำปี 2566 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร โดยผู้เกษียณฯ ปีนี้ มีจำนวน 6 ท่าน ประกอบด้วย 1) รองศาสตราจารย์จินดารัตน์ เบอรพันธุ์ (ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์) 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ (ภาควิชาประวัติศาสตร์) 3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์(พิเศษ) ไซมอน เจรามี ปีเตอร์ ไรท์ (ภาควิชาภาษาอังกฤษ) 4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิภาดา เพ็ชรรักษ์ (สาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก) 5) อาจารย์ ดร.ธีรนุช โชคสุวณิช (ภาควิชาภาษาไทย) 6) คุณมาลี สังข์จุ้ย (ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ) งานในครั้งนี้ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ทีบุคลากรของคณะฯ ร่วมกันจัดเตรียมไว้เพื่อสร้างความบันเทิงแด่ผู้เกษียณฯ […]